หน่วยที่ 1
ห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศ
ความหมายห้องสมุด ความสำคัญของห้องสมุด วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุด (Library) นับเป็นศูนย์รวมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่มนุษย์รู้จักบันทึกสารสนเทศด้วยตัวอักษร โดยบันทึกสารสนเทศลงบนกระดูกสัตว์ แผ่นดินเหนียว โลหะ ไม้ไผ่ กระดาษ ผ้าไหม หนังสัตว์ แผ่นฟิล์ม พลาสติก จานแม่เหล็ก จนในปัจจุบันได้นำเอาเทคโนโลยี การสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึก ทำให้สามารถบริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ในการใช้สารสนเทศอย่างมากที่สุด
1. ความหมายห้องสมุด
คำว่า “ห้องสมุด” ภาษาอังกฤษเขียนว่า Library มาจากภาษาลาตินว่า liber แปลว่า ที่เก็บหนังสือ
สุมน ถนอมเกียรติ (2541: 2) กล่าวว่าห้องสมุด คือ แหล่งสะสมและให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ปรียา ไชยสมคุณ (2546 : 17) ให้ความหมายว่า ห้องสมุด หมายถึง แหล่งรวบรวมความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ทั้งในวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น โทรทัศน์ วีดิโอเทป เทป สไลด์ ซีดีรอม เป็นต้น
ดังนั้นสรุปได้ว่า ห้องสมุด คือ สถานที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ (หรือสื่อโสตทัศน์) เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
2. ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ ทำให้ห้องสมุดสมัยใหม่สามารถให้บริการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองของสังคมการเรียนรู้ สำหรับความสำคัญของห้องสมุดพอสรุปได้ดังนี้
1) ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ หลากหลายสาขาที่ผู้ใช้สามารถค้นหาความรู้ทุกแขนงวิชาที่ตนต้องการ
2) ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3) ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่ช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน ทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจในการหาความรู้โดยไม่จบสิ้น
4) ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาขึ้นควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การสื่อสารสารสนเทศแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
5) ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้รู้จักการเคารพสิทธิของผู้อื่น รู้จักเคารพกฎ ระเบียบของสังคม และรู้จักใช้สมบัติสาธารณะ
6) ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ให้ความเพลิดเพลินและความสนุกสนาน เพราะในห้องสมุดมีบริการต่าง ๆ เช่น สื่อสารสนเทศด้านบันเทิง การให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
3. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุดแต่ละแห่งมีการจัดตั้งขึ้น โดยมีนโยบายแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด โดยทั่วไปห้องสมุดทุกประเภทจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ
1) เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดทุกประเภทจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ ทางวิชาการแก่สมาชิก ห้องสมุดจะต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือวิชาการ หนังสือ สารคดี หนังสืออ้างอิง มาให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้นำความรู้นั้นไปประกอบวิชาชีพ หรือศึกษาเรื่องนั้นให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
2) เพื่อให้ความรู้ข่าวสารที่ทันสมัย (Information) ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ ให้ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ได้ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3) เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ การวิจัยเป็น ส่วนหนึ่งของการพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างลึกซึ้ง ห้องสมุดจึงต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การวิจัย เช่น รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ มาให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการขององค์กรนั้น ๆ
4) เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานศิลปะ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี สารคดี การท่องเที่ยว ให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ศึกษา เพื่อสร้างสรรค์ ความจรรโลงใจแก่ผู้ใช้ ทำให้เกิดความซาบซึ้ง เห็นคุณค่าของความดี ชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่น ยกระดับจิตใจและพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีคุณธรรมของสังคมต่อไป
5) เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร สื่อโสตทัศน์ อินเทอร์เน็ต สามารถให้ประโยชน์ในด้านการพักผ่อน หย่อนใจที่ดีของผู้ใช้ห้องสมุด
ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้บริการผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุดจะให้บริการสารสนสนเทศแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามประเภทของห้องสมุด โดยทั่วไปแล้วห้องสมุดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1) ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) เป็นห้องสมุดของสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา เช่น ห้องสมุดโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักสูตรของระดับการศึกษานั้นๆ
2) ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Library) เป็นห้องสมุด ที่ให้บริการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา ซึ่งอาจมีชื่อเรียกเป็น อย่างอื่น เช่น หอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการ ห้องสมุดคณะ ศูนย์วิทยบริการ เป็นต้น และมีวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันนั้น ๆ
3) ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ให้บริการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ก็สามารถจัดอยู่ในห้องสมุดประเภทนี้
4) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่ เพื่อให้บริการผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ สติปัญญาของบุคลากรในหน่วยงานนั้น เช่น ห้องสมุดธนาคาร ห้องสมุดโรงพยาบาล ห้องสมุดคณะในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
บริการของห้องสมุด
การบริการเป็นกิจกรรมหลักของห้องสมุดทุกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว บริการของห้องสมุดจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท วัตถุประสงค์ และศักยภาพของห้องสมุด
ประเภทบริการของห้องสมุด มีดังนี้
1) บริการให้ยืม – คืน (Circulation Service) ห้องสมุดบางแห่งเรียกว่า บริการจ่าย – รับ บริการให้ยืม ทั้งนี้หมายถึง การให้ใช้ ให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดบางประเภทที่ห้องสมุดกำหนดไว้ให้ยืมได้ ห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีบริการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้ห้องสมุด ที่จะนำทรัพยากรห้องสมุดไปใช้นอกห้องสมุดตามเวลาที่กำหนดให้ยืม
2) บริการหนังสือสำรอง (Reserve Books Service) บางห้องสมุดเรียกว่า บริการหนังสือสงวน หรือหนังสือพิเศษชั่วคราว เป็นการให้บริการพิเศษชั่วคราวเมื่อมีความจำเป็นบางประการ เช่น จัดให้ตามคำร้องขอของครู อาจารย์ผู้สอน ใช้ในกรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องนั้นจำนวนน้อย ผู้ใช้ต้องใช้พร้อมกันหลายคน
3) บริการเอกสารสารสนเทศ (Reference and Information Service) เดิมเรียกว่า บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า เป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดในการหาคำตอบแก่ผู้ใช้ห้องสมุดในเรื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่คำตอบจะได้จากหนังสืออ้างอิง และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
4) บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด (Library Instruction Service) เพื่อให้การใช้ห้องสมุด มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้รู้จักการใช้ห้องสมุดอย่างถูกต้อง สามารถค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ห้องสมุดอาจกระทำได้ทั้งการสอนอย่างเป็นทางการ เช่น การบรรจุวิชาการใช้ห้องสมุดลงในหลักสูตร การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด และการสอนอย่างไม่เป็นทางการ เช่น ทำเอกสารประชาสัมพันธ์ห้องสมุด การจัดนิทรรศการ การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด และการนำชมห้องสมุด
5) บริการด้านจัดทำบรรณานุกรม (Bibliographical Service) ห้องสมุดให้บริการรวบรวมรายชื่อสารสนเทศของห้องสมุดในรูปแบบบรรณานุกรมเพื่อให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด อาจเป็นบรรณานุกรมรายวิชา บรรณานุกรมสาขาวิชา หรือบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดของห้องสมุด
6) บริการเผยแพร่สาระสังเขป (Abstracting Service) เป็นการย่อเรื่องจากหนังสือ บทความวารสาร วีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกให้ตรงตามความต้องการของตน
7) บริการจัดทำดัชนี (Indexing Service) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาบทความจากวารสาร หนังสือพิมพ์ หรือคำศัพท์ในหนังสือ
8) บริการถ่ายเอกสาร (Photocopying Service) เป็นบริการที่จำเป็นของห้องสมุด เพราะเป็นการประหยัดเวลาในการคัดลอก ช่วยลดความสูญเสียของห้องสมุดอันเนื่องมาจากการฉีก กรีด ตัดสื่อสิ่งพิมพ์ และการถ่ายเอกสารสามารถเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วนตามต้นฉบับเดิม
แหล่งสารสนเทศอื่น ๆ
แหล่งสารสนเทศสามารถแยกได้ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันจำแนกได้ดังนี้
1) ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการสารสนเทศเฉพาะกลุ่มสาขาวิชา
2) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เป็นหน่วยงานที่ผลิตหรือรวบรวมเผยแพร่ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลดิบ เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการตลาดของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ซึ่งเก็บรวบรวม ประเมินผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
3) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) เป็นศูนย์ที่เน้นการจัดหา สะสมเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ หรือกำลังดำเนินการ โดยมีนักวิทยาศาสตร์ เลือกสรร ประเมินค่า จัดเก็บและนำเสนอสารสนเทศเฉพาะวิชา ทำให้สะดวก ประหยัดเวลาผู้ใช้ในการติดตามความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาที่สนใจ
4) ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศ (Clearing House) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บผลงานการวิจัย รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่สิ้นสุดแล้ว โดยให้บริการด้านอ้างอิงแหล่งผลิตต่าง ๆ ที่มีผลงานการวิจัย รายงาน โครงการ สำหรับผู้สนใจในรูปแบบของบรรณานุกรม ดรรชนี เป็นต้น
5) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) เป็นหน่วยงานที่ให้บริการตอบคำถาม โดยแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศ ทั้งนี้ในศูนย์จะมีบรรณานุกรม และแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ไว้บริการ
6) หอจดหมายเหตุ (Archives) เป็นหน่วยงานที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ เอกสารทางราชการ เอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่อใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักฐานในการค้นคว้าวิจัยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
รูปที่ 9 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
7) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Company Information Institutes) เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศในลักษณะธุรกิจและมีนายหน้าสารสนเทศ (Information Broker) ทำหน้าที่จัดส่งเอกสาร ค้นข้อสนเทศ ทำวิจัยวิเคราะห์ตลาด การจัดทำโฆษณา เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารที่มีเวลาจำกัด
2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ เช่น วัดและศาสนสถาน เมืองจำลอง เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ สถานทูต สถานประกอบการ ร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล เช่น ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รอบรู้ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ในกรณีนี้ผู้ใช้สารสนเทศต้องไปพบปะสนทนา แลกเปลี่ยน สอบถามความรู้โดยตรงจึงจะได้รับสารสนเทศ
4. แหล่งสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เช่น ข่าวสาร บทความ ฐานข้อมูลหนังสือ ที่ผู้บริการนำขึ้นไว้บนอินเทอร์เน็ตอาจเป็นการให้เปล่าหรือคิดค่าใช้จ่ายจากการใช้บริการก็ได้
สรุปสาระสำคัญ
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานแห่งการดำเนินชีวิต เพราะคนเราจำเป็นต้องเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” (No one is too old to learn) การเรียนรู้ช่วยให้เกิดความคิดหลายด้าน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้าน ความรู้ ทักษะ และเจตคติ อันเนื่องมาจากประสบการณ์
แหล่งเรียนรู้ของวัยเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนในชุมชน การเรียนรู้ นอกห้องเรียน เช่น การเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน สถานที่ต่าง ๆ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่สามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทำให้การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งเรียกว่าเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
กิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้หน่วยที่ 1
ใบงานหน่วยที่ 1
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม
2. ให้แต่ละกลุ่มทำงานต่อไปนี้
2.1 ทุกกลุ่มศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดสถานศึกษาของท่าน
2.2 ให้แต่ละกลุ่มศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียนใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 2 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 3 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดระดับอุดมศึกษาใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 4 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดเฉพาะใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 5 ศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ใกล้สถานศึกษาของท่าน
ในหัวข้อ
ก. สถานที่และลักษณะของอาคาร การจัดแบ่งพื้นที่ใช้งาน
ข. บุคลากร
ค. ทรัพยากรห้องสมุด
ง. ระเบียบการใช้ห้องสมุด
จ. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
3. ให้แต่ละกลุ่มจัดทำเป็นรายงาน นำเสนอผลงาน ในสัปดาห์ที่ 2 โดยใช้เวลากลุ่มละ 5 นาที
(นักศึกษาต้องนำข้อมูลสำหรับนำเสนอ มาทดสอบการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนก่อนเวลาเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการนำเสนอจริง) ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ได้ ให้นักศึกษานำเสนอโดยการติดบอร์ดหน้าห้องเรียน
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 1
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ห้องสมุดหมายถึงข้อใด
ก. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุต่าง ๆ เพื่อการศึกษา
ข. สถานที่เก็บรวบรวมหนังสือเพื่อการศึกษา
ค. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์เพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย มีการจัดบริหาร
และการบริการอย่างมีระบบ
ง. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย และมีการจัดหมวดหมู่
อย่างเป็นระบบ
2. ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประเภทใดต่อไปนี้ ที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ยืม
ออกนอกห้องสมุดได้
ก. หนังสืออ้างอิง ข. หนังสือชีวประวัติ ค. หนังสือเรื่องสั้น ง. หนังสือนวนิยาย
3. ในการค้นคว้าเพื่อการศึกษาและวิจัย ท่านคิดว่าแหล่งใดให้ประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด
ก. ห้องสมุด ______ ข. ห้องเรียน
ค. สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ง. บริษัท องค์กร สถานประกอบการต่าง ๆ
4. ท่านคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของห้องสมุดคือ
ก. อาคารสถานที่ ข. ทรัพยากรสารสนเทศ ค. บรรณารักษ์ ง. เงินงบประมาณ
5. วัตถุประสงค์ใดของห้องสมุดที่ช่วยให้การเรียนการสอนสมบูรณ์ขึ้น
ก. เพื่อการศึกษา ข. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร
ค. เพื่อการค้นคว้าวิจัย ง. เพื่อให้ความจรรโลงใจ
6. ห้องสมุดประเภทใดที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. หอสมุดแห่งชาติ
7. ห้องสมุดประเภทใดที่ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยมากที่สุด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. หอสมุดแห่งชาติ
8. สถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดเป็นห้องสมุดประเภทใด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ศูนย์เอกสาร
9. ห้องสมุดคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจัดเป็นห้องสมุดประเภทใด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ศูนย์เอกสาร
10. ข้อใดคือบริการพื้นฐานของห้องสมุด
ก. บริการหนังสือจอง ข. บริการสืบค้นฐานข้อมูล
ค. บริการจัดทำบรรณานุกรม ง. บริการถ่ายเอกสาร
ห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศ
ความหมายห้องสมุด ความสำคัญของห้องสมุด วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุด (Library) นับเป็นศูนย์รวมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่มนุษย์รู้จักบันทึกสารสนเทศด้วยตัวอักษร โดยบันทึกสารสนเทศลงบนกระดูกสัตว์ แผ่นดินเหนียว โลหะ ไม้ไผ่ กระดาษ ผ้าไหม หนังสัตว์ แผ่นฟิล์ม พลาสติก จานแม่เหล็ก จนในปัจจุบันได้นำเอาเทคโนโลยี การสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึก ทำให้สามารถบริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ในการใช้สารสนเทศอย่างมากที่สุด
1. ความหมายห้องสมุด
คำว่า “ห้องสมุด” ภาษาอังกฤษเขียนว่า Library มาจากภาษาลาตินว่า liber แปลว่า ที่เก็บหนังสือ
สุมน ถนอมเกียรติ (2541: 2) กล่าวว่าห้องสมุด คือ แหล่งสะสมและให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ปรียา ไชยสมคุณ (2546 : 17) ให้ความหมายว่า ห้องสมุด หมายถึง แหล่งรวบรวมความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ทั้งในวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น โทรทัศน์ วีดิโอเทป เทป สไลด์ ซีดีรอม เป็นต้น
ดังนั้นสรุปได้ว่า ห้องสมุด คือ สถานที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ (หรือสื่อโสตทัศน์) เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
2. ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ ทำให้ห้องสมุดสมัยใหม่สามารถให้บริการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองของสังคมการเรียนรู้ สำหรับความสำคัญของห้องสมุดพอสรุปได้ดังนี้
1) ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ หลากหลายสาขาที่ผู้ใช้สามารถค้นหาความรู้ทุกแขนงวิชาที่ตนต้องการ
2) ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3) ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่ช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน ทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจในการหาความรู้โดยไม่จบสิ้น
4) ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาขึ้นควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การสื่อสารสารสนเทศแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
5) ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้รู้จักการเคารพสิทธิของผู้อื่น รู้จักเคารพกฎ ระเบียบของสังคม และรู้จักใช้สมบัติสาธารณะ
6) ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ให้ความเพลิดเพลินและความสนุกสนาน เพราะในห้องสมุดมีบริการต่าง ๆ เช่น สื่อสารสนเทศด้านบันเทิง การให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
3. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุดแต่ละแห่งมีการจัดตั้งขึ้น โดยมีนโยบายแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด โดยทั่วไปห้องสมุดทุกประเภทจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ
1) เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดทุกประเภทจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ ทางวิชาการแก่สมาชิก ห้องสมุดจะต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือวิชาการ หนังสือ สารคดี หนังสืออ้างอิง มาให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้นำความรู้นั้นไปประกอบวิชาชีพ หรือศึกษาเรื่องนั้นให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
2) เพื่อให้ความรู้ข่าวสารที่ทันสมัย (Information) ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ ให้ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ได้ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3) เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ การวิจัยเป็น ส่วนหนึ่งของการพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างลึกซึ้ง ห้องสมุดจึงต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การวิจัย เช่น รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ มาให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการขององค์กรนั้น ๆ
4) เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานศิลปะ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี สารคดี การท่องเที่ยว ให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ศึกษา เพื่อสร้างสรรค์ ความจรรโลงใจแก่ผู้ใช้ ทำให้เกิดความซาบซึ้ง เห็นคุณค่าของความดี ชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่น ยกระดับจิตใจและพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีคุณธรรมของสังคมต่อไป
5) เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร สื่อโสตทัศน์ อินเทอร์เน็ต สามารถให้ประโยชน์ในด้านการพักผ่อน หย่อนใจที่ดีของผู้ใช้ห้องสมุด
ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้บริการผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุดจะให้บริการสารสนสนเทศแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามประเภทของห้องสมุด โดยทั่วไปแล้วห้องสมุดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1) ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) เป็นห้องสมุดของสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา เช่น ห้องสมุดโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักสูตรของระดับการศึกษานั้นๆ
2) ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Library) เป็นห้องสมุด ที่ให้บริการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา ซึ่งอาจมีชื่อเรียกเป็น อย่างอื่น เช่น หอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการ ห้องสมุดคณะ ศูนย์วิทยบริการ เป็นต้น และมีวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันนั้น ๆ
3) ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ให้บริการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ก็สามารถจัดอยู่ในห้องสมุดประเภทนี้
4) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่ เพื่อให้บริการผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ สติปัญญาของบุคลากรในหน่วยงานนั้น เช่น ห้องสมุดธนาคาร ห้องสมุดโรงพยาบาล ห้องสมุดคณะในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
บริการของห้องสมุด
การบริการเป็นกิจกรรมหลักของห้องสมุดทุกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว บริการของห้องสมุดจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท วัตถุประสงค์ และศักยภาพของห้องสมุด
ประเภทบริการของห้องสมุด มีดังนี้
1) บริการให้ยืม – คืน (Circulation Service) ห้องสมุดบางแห่งเรียกว่า บริการจ่าย – รับ บริการให้ยืม ทั้งนี้หมายถึง การให้ใช้ ให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดบางประเภทที่ห้องสมุดกำหนดไว้ให้ยืมได้ ห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีบริการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้ห้องสมุด ที่จะนำทรัพยากรห้องสมุดไปใช้นอกห้องสมุดตามเวลาที่กำหนดให้ยืม
2) บริการหนังสือสำรอง (Reserve Books Service) บางห้องสมุดเรียกว่า บริการหนังสือสงวน หรือหนังสือพิเศษชั่วคราว เป็นการให้บริการพิเศษชั่วคราวเมื่อมีความจำเป็นบางประการ เช่น จัดให้ตามคำร้องขอของครู อาจารย์ผู้สอน ใช้ในกรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องนั้นจำนวนน้อย ผู้ใช้ต้องใช้พร้อมกันหลายคน
3) บริการเอกสารสารสนเทศ (Reference and Information Service) เดิมเรียกว่า บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า เป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดในการหาคำตอบแก่ผู้ใช้ห้องสมุดในเรื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่คำตอบจะได้จากหนังสืออ้างอิง และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
4) บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด (Library Instruction Service) เพื่อให้การใช้ห้องสมุด มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้รู้จักการใช้ห้องสมุดอย่างถูกต้อง สามารถค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ห้องสมุดอาจกระทำได้ทั้งการสอนอย่างเป็นทางการ เช่น การบรรจุวิชาการใช้ห้องสมุดลงในหลักสูตร การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด และการสอนอย่างไม่เป็นทางการ เช่น ทำเอกสารประชาสัมพันธ์ห้องสมุด การจัดนิทรรศการ การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด และการนำชมห้องสมุด
5) บริการด้านจัดทำบรรณานุกรม (Bibliographical Service) ห้องสมุดให้บริการรวบรวมรายชื่อสารสนเทศของห้องสมุดในรูปแบบบรรณานุกรมเพื่อให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด อาจเป็นบรรณานุกรมรายวิชา บรรณานุกรมสาขาวิชา หรือบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดของห้องสมุด
6) บริการเผยแพร่สาระสังเขป (Abstracting Service) เป็นการย่อเรื่องจากหนังสือ บทความวารสาร วีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกให้ตรงตามความต้องการของตน
7) บริการจัดทำดัชนี (Indexing Service) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาบทความจากวารสาร หนังสือพิมพ์ หรือคำศัพท์ในหนังสือ
8) บริการถ่ายเอกสาร (Photocopying Service) เป็นบริการที่จำเป็นของห้องสมุด เพราะเป็นการประหยัดเวลาในการคัดลอก ช่วยลดความสูญเสียของห้องสมุดอันเนื่องมาจากการฉีก กรีด ตัดสื่อสิ่งพิมพ์ และการถ่ายเอกสารสามารถเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วนตามต้นฉบับเดิม
แหล่งสารสนเทศอื่น ๆ
แหล่งสารสนเทศสามารถแยกได้ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันจำแนกได้ดังนี้
1) ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการสารสนเทศเฉพาะกลุ่มสาขาวิชา
2) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เป็นหน่วยงานที่ผลิตหรือรวบรวมเผยแพร่ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลดิบ เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการตลาดของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ซึ่งเก็บรวบรวม ประเมินผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
3) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) เป็นศูนย์ที่เน้นการจัดหา สะสมเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ หรือกำลังดำเนินการ โดยมีนักวิทยาศาสตร์ เลือกสรร ประเมินค่า จัดเก็บและนำเสนอสารสนเทศเฉพาะวิชา ทำให้สะดวก ประหยัดเวลาผู้ใช้ในการติดตามความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาที่สนใจ
4) ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศ (Clearing House) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บผลงานการวิจัย รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่สิ้นสุดแล้ว โดยให้บริการด้านอ้างอิงแหล่งผลิตต่าง ๆ ที่มีผลงานการวิจัย รายงาน โครงการ สำหรับผู้สนใจในรูปแบบของบรรณานุกรม ดรรชนี เป็นต้น
5) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) เป็นหน่วยงานที่ให้บริการตอบคำถาม โดยแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศ ทั้งนี้ในศูนย์จะมีบรรณานุกรม และแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ไว้บริการ
6) หอจดหมายเหตุ (Archives) เป็นหน่วยงานที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ เอกสารทางราชการ เอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่อใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักฐานในการค้นคว้าวิจัยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
รูปที่ 9 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
7) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Company Information Institutes) เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศในลักษณะธุรกิจและมีนายหน้าสารสนเทศ (Information Broker) ทำหน้าที่จัดส่งเอกสาร ค้นข้อสนเทศ ทำวิจัยวิเคราะห์ตลาด การจัดทำโฆษณา เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารที่มีเวลาจำกัด
2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ เช่น วัดและศาสนสถาน เมืองจำลอง เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ สถานทูต สถานประกอบการ ร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล เช่น ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รอบรู้ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ในกรณีนี้ผู้ใช้สารสนเทศต้องไปพบปะสนทนา แลกเปลี่ยน สอบถามความรู้โดยตรงจึงจะได้รับสารสนเทศ
4. แหล่งสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เช่น ข่าวสาร บทความ ฐานข้อมูลหนังสือ ที่ผู้บริการนำขึ้นไว้บนอินเทอร์เน็ตอาจเป็นการให้เปล่าหรือคิดค่าใช้จ่ายจากการใช้บริการก็ได้
สรุปสาระสำคัญ
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานแห่งการดำเนินชีวิต เพราะคนเราจำเป็นต้องเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” (No one is too old to learn) การเรียนรู้ช่วยให้เกิดความคิดหลายด้าน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้าน ความรู้ ทักษะ และเจตคติ อันเนื่องมาจากประสบการณ์
แหล่งเรียนรู้ของวัยเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนในชุมชน การเรียนรู้ นอกห้องเรียน เช่น การเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน สถานที่ต่าง ๆ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่สามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทำให้การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งเรียกว่าเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
กิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้หน่วยที่ 1
ใบงานหน่วยที่ 1
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม
2. ให้แต่ละกลุ่มทำงานต่อไปนี้
2.1 ทุกกลุ่มศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดสถานศึกษาของท่าน
2.2 ให้แต่ละกลุ่มศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียนใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 2 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 3 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดระดับอุดมศึกษาใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 4 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดเฉพาะใกล้สถานศึกษาของท่าน
กลุ่มที่ 5 ศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ใกล้สถานศึกษาของท่าน
ในหัวข้อ
ก. สถานที่และลักษณะของอาคาร การจัดแบ่งพื้นที่ใช้งาน
ข. บุคลากร
ค. ทรัพยากรห้องสมุด
ง. ระเบียบการใช้ห้องสมุด
จ. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
3. ให้แต่ละกลุ่มจัดทำเป็นรายงาน นำเสนอผลงาน ในสัปดาห์ที่ 2 โดยใช้เวลากลุ่มละ 5 นาที
(นักศึกษาต้องนำข้อมูลสำหรับนำเสนอ มาทดสอบการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนก่อนเวลาเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการนำเสนอจริง) ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ได้ ให้นักศึกษานำเสนอโดยการติดบอร์ดหน้าห้องเรียน
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 1
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ห้องสมุดหมายถึงข้อใด
ก. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุต่าง ๆ เพื่อการศึกษา
ข. สถานที่เก็บรวบรวมหนังสือเพื่อการศึกษา
ค. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์เพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย มีการจัดบริหาร
และการบริการอย่างมีระบบ
ง. สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย และมีการจัดหมวดหมู่
อย่างเป็นระบบ
2. ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประเภทใดต่อไปนี้ ที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ยืม
ออกนอกห้องสมุดได้
ก. หนังสืออ้างอิง ข. หนังสือชีวประวัติ ค. หนังสือเรื่องสั้น ง. หนังสือนวนิยาย
3. ในการค้นคว้าเพื่อการศึกษาและวิจัย ท่านคิดว่าแหล่งใดให้ประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด
ก. ห้องสมุด ______ ข. ห้องเรียน
ค. สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ง. บริษัท องค์กร สถานประกอบการต่าง ๆ
4. ท่านคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของห้องสมุดคือ
ก. อาคารสถานที่ ข. ทรัพยากรสารสนเทศ ค. บรรณารักษ์ ง. เงินงบประมาณ
5. วัตถุประสงค์ใดของห้องสมุดที่ช่วยให้การเรียนการสอนสมบูรณ์ขึ้น
ก. เพื่อการศึกษา ข. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร
ค. เพื่อการค้นคว้าวิจัย ง. เพื่อให้ความจรรโลงใจ
6. ห้องสมุดประเภทใดที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. หอสมุดแห่งชาติ
7. ห้องสมุดประเภทใดที่ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยมากที่สุด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. หอสมุดแห่งชาติ
8. สถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดเป็นห้องสมุดประเภทใด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ศูนย์เอกสาร
9. ห้องสมุดคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจัดเป็นห้องสมุดประเภทใด
ก. ห้องสมุดเฉพาะ ข. ห้องสมุดประชาชน ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ศูนย์เอกสาร
10. ข้อใดคือบริการพื้นฐานของห้องสมุด
ก. บริการหนังสือจอง ข. บริการสืบค้นฐานข้อมูล
ค. บริการจัดทำบรรณานุกรม ง. บริการถ่ายเอกสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น