หน่วยที่ 4 หนังสืออ้างอิง
ความหมายของหนังสืออ้างอิง หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือรวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งห้องสมุดต้องจัดแยกออกจากหนังสือประเภทอื่นๆและกำหนดสัญลักษณ์เพิ่มเติมขึ้นเหนือเลขเรียกหนังสือ โดยสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย จะใช้อักษร อ มาจากคำว่า อ้างอิง และหนังสือภาษาต่างประเทศจะใช้อักษร R หรือ Ref มาจากคำว่า Reference ซึ่งหนังสืออ้างอิงจะไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุดอ306.03ส678 อ423.9591ว579พ Ref030W927 Ref920B782p
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ (2534 : 278) ได้กล่าวถึงลักษณะของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. เป็นหนังสือที่ใช้อ่านเนื้อหาเพียงบางตอน เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ
2. เป็นหนังสือที่มีการจัดเรียงเนื้อหาภายในเล่มอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการใช้ เช่น มีการเรียงตามลำดับอักษร หรือมีการเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ หรือมีความหนามากกว่าปกติ
4. เป็นหนังสือชุด มีหลายเล่มจบ ถ้ายืมออกไปเล่มใดเล่มหนึ่งอาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือสูญหาย การซื้อมาทดแทนไม่สามารถซื้อเพียงบางเล่มได้ ต้องซื้อทั้งชุด
5. เป็นหนังสือที่หายาก มีจำนวนพิมพ์จำกัด และไม่มีการพิมพ์เพิ่มเติม หรือมีภาพสำคัญๆ ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน
6. เป็นหนังสือที่มีราคาแพง การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง หนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมีการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มแตกต่างกันไป
เพื่อความเหมาะสมในการค้นหาเรื่องที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถจัดแบ่งรูปแบบการจัดเรียงเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิง (ลมุล รัตตากร. 2539 : 149-153) ดังนี้
1. เรียงตามลำดับอักษร เป็นการจัดเรียงคำ หรือเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภท พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือคู่มือ นามานุกรม และอักขรานุกรมชีวประวัติ และเป็นพื้นฐานการเรียงสำหรับหนังสืออ้างอิงทุกประเภท
2. เรียงตามหมวดหมู่ เป็นการจัดแบ่งเนื้อเรื่องตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้นจะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้พบในหนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี และบรรณานุกรม
3. เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง การจัดเรียงแบบนี้มักพบในหนังสืออ้างอิงประเภทหนังสือรายปี หนังสืออ้างอิงประเภทประวัติศาสตร์
4. เรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีปจึงจัดเรียงตามลำดับอักษรของประเทศ จากนั้นจะจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภทหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
ลักษณะพิเศษ เพื่อช่วยค้นหาเรื่องราวจากหนังสืออ้างอิง
1. สัญลักษณ์นำเล่ม (volume guide) เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่สันหรือปกของหนังสือ โดยส่วนใหญ่จะจัดทำขึ้นสำหรับหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด มีหลายเล่มจบ เพื่อบอกลำดับที่ของเล่มนั้นๆ ว่าเป็นเล่มที่เท่าใด ของชุด และเพื่อช่วยให้ทราบว่าเรื่องที่ต้องการอยู่ในเล่มใดของชุดนั้น
2. ดรรชนีหัวแม่มือ / ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (thumb index) เป็นการตัดกระดาษริมขวาของหนังสืออ้างอิงให้เป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วกำกับด้วยตัวอักษร เพื่อช่วยให้เปิดค้นหาคำต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
3. คำนำทาง หรือ อักษรนำหน้า (guide word / running head) คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้าในหนังสืออ้างอิง ทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา โดยเป็นการนำคำแรก และคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ เพื่อช่วยให้ค้นหาเรื่องที่ต้องการ ซึ่งอยู่ในช่วงหน้านั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (index) เป็นการนำคำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิงมาเรียงตามลำดับอักษร และกำกับด้วยเลขหน้าเพื่อบอกว่าคำๆ นั้นอยู่ที่หน้าใด ช่วยทำให้การค้นหาเรื่องรวดเร็วขึ้น โดยปกติ ดรรชนีจะปรากฏอยู่ที่ส่วนท้ายเล่มของหนังสืออ้างอิง หรืออยู่ที่เล่มสุดท้าย ของหนังสืออ้างอิงที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด
5. ส่วนโยง (cross reference)
1) ส่วนโยง ดูที่ (see) เป็นส่วนโยงที่ชี้แนะให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศ จากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูที่” เนื่องจาก คำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า ดูที่ นั้น เป็นคำไม่นิยมใช้ หรือเป็นคำที่ไม่สุภาพ หรือเป็นคำภาษาท้องถิ่น หรือเป็นคำที่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน เช่น
เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก
หมายความว่า เมื่อต้องการสืบค้นคำว่า เอื้องแซะเหลือง ให้ผู้ใช้สืบค้นจากคำว่า เอื้องกาจก แทน ดังนั้นผู้ใช้ต้องไปเปิดที่คำว่าเอื้องกาจกจึงจะพบสารสนเทศที่ต้องการ
2) ส่วนโยง ดูเพิ่มที่ หรือ ดูเพิ่มเติมที่ หรือ ดูเพิ่มเติม (see also) หมายความว่า ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศจากการสืบค้นคำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า “ดูเพิ่มที่” เรียบร้อยแล้ว แต่สารสนเทศที่ได้นั้นยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือมีเรื่องที่ผู้ใช้ควรทราบเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ผู้ผลิตหนังสือจึงได้จัดทำส่วนโยง “ดูเพิ่มที่” เพื่อช่วยชี้แนะให้ผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศเพิ่มเติมจากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูเพิ่มที่” เช่น
เกาะ ดูเพิ่มที่ เกาะดอนแท่น
หมายถึง นอกจากจะพบสารสนเทศเรื่อง เกาะ แล้ว ยังสามารถอ่านสารสนเทศเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเกาะในแง่มุมอื่นๆ อีก ถ้าค้นหาจากคำว่า เกาะดอนแท่น เพิ่มเติม
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้ใช้จะได้รับความรู้จากสารสนเทศภายในเล่มของหนังสือได้ทันที หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่
1.1 พจนานุกรม (Dictionary) พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับคำศัพท์ ความหมาย การออกเสียง ประเภทของคำ ประวัติ การใช้คำ คำพ้อง และคำตรงข้าม โดยจัดเรียงคำศัพท์ตามลำดับอักษร ก-ฮ หรือ A-Z ซึ่งลักษณะภาษาที่ปรากฏให้เห็นในพจนานุกรม พจนานุกรมสามารถแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
1.1.1 จำแนกตามภาษาได้ดังนี้
1) พจนานุกรมภาษาเดียว หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาเดียวกัน เช่น คำศัพท์เป็นภาษาไทย- คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น
2) พจนานุกรมสองภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปล เป็นอีกภาษาหนึ่ง เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ คำศัพท์เป็นภาษาญี่ปุ่น - คำแปลเป็นภาษาไทย เป็นต้น
3) พจนานุกรมหลายภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปลเป็นภาษาอื่นๆ ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาเยอรมัน คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาสเปน เป็นต้น
1.1.2 พจนานุกรมจำแนกตามเนื้อหา เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ ที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
2) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
1.2 สารานุกรม (Encyclopedia) สารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่อธิบายความรู้ ข้อเท็จจริง ในเรื่องต่างๆ ทุกสาขาวิชา โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่ม ตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับสารานุกรมภาษาไทย หรือ A - Z สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษ สารานุกรมจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้ในสาขา วิชาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ
2) สารานุกรมเฉพาะวิชา (Specific Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิง ที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง มีความลึกซึ้งในเนื้อหาวิชามากขึ้นกว่าสารานุกรมทั่วไป
1.3 หนังสือรายปี (Yearbook / Almanac / Annual) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ สถิติ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา มีการจัดพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ และมีกำหนดออก 1 ปี หรือที่เรียกกันว่า กำหนดออกเป็นรายปี โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ซึ่งหน่วยงานทั่วไปมักรู้จักในลักษณะของ รายงานประจำปี
1.4 หนังสือคู่มือ (Handbook) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้อย่างสั้น กะทัดรัด และสามารถใช้ตอบคำถามง่ายๆ ได้ โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสือคู่มือภาษาไทย หรือ A- Z สำหรับหนังสือคู่มือภาษาอังกฤษ หรือจัดเรียงตามลำดับการใช้งานของผลิตภัณฑ์
1.5 นามานุกรม / ทำเนียบนาม (Directory) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อบุคคล หรือรายชื่อหน่วยงาน สถาบันต่างๆ โดยนำรายชื่อเหล่านั้นมาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับนามานุกรมภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับนามานุกรมภาษาอังกฤษ และบอกสถานที่ที่สามารถติดต่อกับชื่อนั้นได้ เช่น ที่อยู่สถานที่ทำงาน ที่อยู่ที่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นามานุกรม บางเล่มให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา และตำแหน่งด้วย
1.6 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา และมหาสมุทร เป็นต้น หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ หรือ พจนานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer) มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม แต่เป็นการรวบรวมชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเมือง ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ ชื่อป่าไม้ หรือชื่อสถานที่สำคัญ โดยนำมาจัดเรียงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีป จึงจัดเรียงตามลำดับอักษร ของประเทศต่างๆ จากนั้น จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อ ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง และอธิบายข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง คำอ่าน สถานที่ตั้ง อาณาเขต เส้นรุ้ง เส้นแวง หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
2) หนังสือแผนที่ (Map /Atlas) เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลลักษณะของพื้นผิว โลก ใช้มาตราส่วนย่อให้เล็กลงตามความต้องการ แผนที่ อาจเป็นแผ่น หรือเป็นเล่มก็ได้ แต่ลักษณะเน้นของแผนที่จะไม่มีคำอธิบายเป็นตัวอักษรมากนัก ส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย เช่น ใช้สีแทนความหนาแน่นของป่าไม้ หรือ ความลึกของทะเล
3) หนังสือนำเที่ยว (Guidebook) เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งความรู้เกี่ยวกับสภาพทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ เส้นทางคมนาคม ที่พัก ค่าใช้จ่าย และสถานที่สำคัญๆ เช่น
คู่มือไทยเที่ยวไทย คู่มือเชลล์ชวนชิม หนังสืออะเมซิ่งป่าเขาลำเนาไทย
1.7 อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biography) เป็นหนังสือที่รวบรวมชื่อบุคคลสำคัญทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตไปแล้ว พร้อมประวัติส่วนตัว การศึกษา ผลงาน การดำรงตำแหน่ง ต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียด โดยนำชื่อบุคคลเหล่านั้น มาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาไทย หรือA-Z สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาอังกฤษ
2. หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่ไม่สามารถอ่านความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ได้ทันทีจากตัวเล่ม แต่จะชี้แนะแหล่งสารสนเทศที่ต้องการว่ามีอยู่ในหนังสือหรือวารสารเล่มใดบ้าง ผู้ใช้ต้องจดรายละเอียดทางบรรณานุกรม เพื่อนำไปสืบค้นหนังสือหรือวารสารเล่มนั้นอีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถอ่านสารสนเทศที่ต้องการได้ หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่
2.1 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสือที่รวบรวมบรรณานุกรมของหนังสือต่างๆ ไว้ โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีพิมพ์ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง บรรณานุกรมบางเล่มอาจมีบทคัดย่อ (Abstract) ให้ด้วย หนังสืออ้างอิงประเภทบรรณานุกรม มีประโยชน์ในการช่วยติดตามความเคลื่อนไหว ในการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่ม และช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้าของสาขาวิชาต่างๆ ที่มีการตีพิมพ์หนังสือออกมา
2.2 ดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์ (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร และหนังสือพิมพ์ เพื่อบอกแหล่งของบทความว่าปรากฎอยู่ในวารสารชื่อใด และหนังสือพิมพ์ชื่อใด โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปีพ.ศ. และเลขหน้าที่บทความนั้นปรากฏอยู่ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี มีประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้ทราบว่าปัจจุบันมีผู้เขียนบทความเรื่องใด และตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ชื่อใดบ้าง เช่น
การเลือกใช้หนังสืออ้างอิง การเลือกใช้หนังสืออ้างอิงเพื่อหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะปัญหา และรู้จักประโยชน์ของหนังสืออ้างอิงโดยวิเคราะห์ปัญหาก่อน แล้วพิจารณาว่าจะใช้แหล่งสาสรสนเทศแหล่งเดียว หรือหลายแหล่งโดยมีหลักในการพิจารณาดังนี้
1. พิจารณาคำถามว่าต้องการสารสนเทศอะไร
1.1 คำจำกัดความ
1.2 ข้อมูล ตัวเลข สถิติ
1.3 คำบรรยายอย่างลึกซึ้งหรืออภิปรายอย่างละเอียด
1.4 เรื่องย่อ ๆ
2. คำถามนั้นอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาใด
2.1 ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์
2.2 ต้องเกี่ยวพันหลายสาขาวิชา
2.3 ปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบปัญหา เช่น ยุคสมัย ระยะเวลา และสถานที่
3. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
4. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
5. จำเป็นต้องใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด
5,1 พจนานุกรมทั่วไปเพื่อหาคำจำกัดความ
5.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชาเพื่อค้นหาศัพท์เฉพาะ
5.3 สารานุกรมเพื่อดูเรื่องทั่วไปหรือเรื่องย่อ
5.4 บทความจากวารสารเพื่ออ่านสารสนเทศที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
5.5 หนังสือรายปีเพื่อดูสถิติ
5.6 ใช้หนังสืออ้างอิงหลาย ๆ เล่มรวมกันการพิจารณาเลือกใช้หนังสืออ้างอิง จากลักษณะเด่นของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. มีการวางแผนในการจัดเรียบเรียงและเสนอเรื่องเป็นแบบใด
1.1 ลำดับอักษร คำต่อคำ อักษรต่ออักษร
1.2 ตามปฎิทินหรือตามลำดับเหตุการณ์
1.3 ตามหัวข้อ
2. สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในเนื้อหา
3. เครื่องหมายหรือคำอธิบายทางภาษาศาสตร์ที่บอกสำเนียงการออกเสียง
4. ชนิดของดัชนีประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง วิภา ศุภจาริรักษ์ (2542 : 44) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นหนังสือที่เขียนโดย ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชา
2. ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร หรือเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. ใช้ค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชา เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครอบคลุม กว้างขวางทุกสาขาวิชา
4. ช่วยชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้อีก ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าสารสนเทศ ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น บรรณานุกรม และหนังสือดรรชนี
สรุปสาระสำคัญ หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม และไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด หนังสืออ้างอิงมีลักษณะการจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ มีรูปเล่มขนาดใหญ่ อาจมีหลายเล่มจบ เป็นหนังสือหายาก หรือเป็นหนังสือที่มีราคาแพง หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือสามารถค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ อีก การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงมีหลายรูปแบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร เรียงตามหมวดหมู่ เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา หรือเรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ ลักษณะพิเศษเพื่อช่วยค้นหาสารสนเทศจากหนังสืออ้างอิง มี 5 ลักษณะ ได้แก่ สัญลักษณ์นำเล่ม ดรรชนีหัวแม่มือ (ดรรชนีริมหน้ากระดาษ) อักษรนำหน้า ดรรชนี และส่วนโยง หนังสืออ้างอิงจำแนกได้ 2 ประเภท คือ หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ และหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีคุณค่า แตกต่างจากหนังสือทั่วไป และเป็นหนังสือที่ใช้ค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หากต้องการความรู้และคำตอบในเรื่องใด ต้องพิจารณาคำถามอย่างระมัดระวัง จึงจะสามารถค้นหาจากหนังสืออ้างอิงได้
กิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้
ให้นักศึกษาสำรวจหนังสืออ้างอิงในห้องสมุดของสถานศึกษา และนำเสนอบนบอร์ดหน้าชั้นเรียนแบ่งตามกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 พจนานุกรม (Dictionary)
กลุ่มที่ 2 สารานุกรม (Encyclopedia)
กลุ่มที่ 3 นามานุกรม (Directory)
กลุ่มที่ 4 หนังสือรายปี (Year Book)
กลุ่มที่ 5 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
โดยแต่ละชื่อเรื่องให้สำรวจในหัวข้อต่อไปนี้
1. ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. การจัดเรียบเรียง
3. ลักษณะพิเศษ
4. ประโยชน์
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 4หนังสืออ้างอิง
ตอนที่ 1 คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว1. ข้อใดคือความหมายของหนังสืออ้างอิงก . หนังสือที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสือชุด ข. หนังสือที่รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งค. หนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบเฉพาะเรื่อง ง . ถูกทุกข้อ2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสืออ้างอิงก. เป็นหนังสือหายาก ข. เป็นหนังสือราคาแพง ค. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ ง. เป็นหนังสือที่ไม่ให้ยืมออกจากห้องสมุด3. ข้อใดคือประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง ก. ทำให้ผู้อ่านมีความรู้มากขึ้น ข. ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ค. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ง. ใช้ค้นหาสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง4. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า clock จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา5. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า เจดีย์ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา6. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า software จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ค. New Model English-Thai Dictionary ง. Webster’s New World Dictionary of American English
7. พจนานุกรมที่มีคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ คำแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เรียกว่าพจนานุกรมอะไร ก. พจนานุกรมภาษาเดียว ข. พจนานุกรมสองภาษา ค. พจนานุกรมสามภาษา ง. พจนานุกรมหลายภาษา8. ต้องการทราบประวัติของ ทำเนียบขาว (White House) สามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. The New Encyclopedia Britannica ข. The Encyclopedia Americana ค. Children’s Britannica ง. Lands and Peoples9. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC) ในเดือนตุลาคม 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะถูกบันทึกในหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. Guiness Book of World Records ข. Annual of the State of the World ค. McGraw-Hill Yearbook of America ง. Thailand Yearbook10. สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด ก. หนังสือรายปี ข. หนังสือคู่มือ ค. หนังสือทำเนียบนาม ง. หนังสือบรรณานุกรม11. หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล หรือหน่วยงาน พร้อมสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ คือหนังสือ อ้างอิงเล่มใด ก. นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย ข. ประมวลชีวิตและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย ค. สยามจดหมายเหตุ : บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ง. บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการ12. ถ้านักศึกษาต้องการทราบว่าจังหวัดลพบุรีมีกี่อำเภอ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง ค. แผนที่ประเทศไทย ง. ท่องเที่ยวประเทศไทย13. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย คือหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง ค. ท่องเที่ยวประเทศไทย ง. แผนที่ประเทศไทย
14. ถ้านักศึกษาต้องการทราบประวัติของนายอานันท์ ปันยารชุน จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด ก. Thailand Yearbook ข. Thailand bibliography ค. Who’s who in Thailand ง. Who’s who directory in Thailand 15. ต้องการทราบรายชื่อหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด ก. บรรณานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ข. นามานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ค. สารานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ง. ทำเนียบนามกระทรวงศึกษาธิการ16. หนังสืออ้างอิงที่มีลักษณะเป็นชุด มีหลายเล่มจบ มีลักษณะพิเศษในข้อใดที่บอกลำดับที่ของเล่ม ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference17. การตัดกระดาษริมขวาให้เป็นรูปครึ่งวงกลม และกำกับด้วยตัวอักษร เรียกว่าอะไร ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference18. คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้า โดยการนำคำแรกและคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ที่มุมบนซ้ายและขวา ของหน้าเรียกว่าอะไร ก. Volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference19. ถ้าต้องการทราบเรื่อง เอื้องแซะเหลือง เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ พบคำว่า เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก หมายความว่าอย่างไร
20. ถ้าต้องการทราบเรื่อง ดาว เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมสำหรับเด็กและเยาวชน พบคำว่า ดาว ดูเพิ่มเติมที่ ดาราศาสตร์ หมายความว่าอย่างไร ก. ได้เรื่องราวของดาวครบถ้วน และมีความรู้กว้างขึ้นหากเปิดคำว่า ดาราศาสตร์ ด้วย ข. ได้เรื่องราวของดาวไม่ครบถ้วน ต้องเปิดที่คำว่า ดาราศาสตร์ด้วย ค. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ครบถ้วนสมบูรณ์ ง. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ไม่ครบถ้วนตอนที่ 2 คำสั่ง จงระบุประเภทของหนังสืออ้างอิงเหล่านี้ให้ถูกต้อง1. Webster’s New World Dictionary of American English เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................2. The World Book Encyclopediaเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................3. Thailand Yearbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................4. The animation producer’s handbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................5. Who was who in the twentieth century? เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................6. Goode’s World Atlas เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................7. Who’s Who in Thailand เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................8. Bibliography children’s books from Asia 1980 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................9. Readers’ Guide to Periodical Literature เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................10. SMEs Directory 2010 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด..........................................................................................................................................................
บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาที่เรียนวิชา ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ได้ติดต่อกับครูผู้สอน ถ้านักศึกษาคนใดมีปัญหาให้ติดต่อครูได้
วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
หน่วยที่ 4
หนังสืออ้างอิง
ความหมายของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือรวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งห้องสมุดต้องจัดแยกออกจากหนังสือประเภทอื่นๆ
และกำหนดสัญลักษณ์เพิ่มเติมขึ้นเหนือเลขเรียกหนังสือ โดยสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย จะใช้อักษร อ มาจากคำว่า อ้างอิง และหนังสือภาษาต่างประเทศจะใช้อักษร R หรือ Ref มาจากคำว่า Reference ซึ่งหนังสืออ้างอิงจะไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด
อ306.03ส678
อ423.9591ว579พ
Ref030W927
Ref920B782p
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ (2534 : 278) ได้กล่าวถึงลักษณะของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. เป็นหนังสือที่ใช้อ่านเนื้อหาเพียงบางตอน เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ
2. เป็นหนังสือที่มีการจัดเรียงเนื้อหาภายในเล่มอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการใช้ เช่น มีการเรียงตามลำดับอักษร หรือมีการเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ หรือมีความหนามากกว่าปกติ
4. เป็นหนังสือชุด มีหลายเล่มจบ ถ้ายืมออกไปเล่มใดเล่มหนึ่งอาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือสูญหาย การซื้อมาทดแทนไม่สามารถซื้อเพียงบางเล่มได้ ต้องซื้อทั้งชุด
5. เป็นหนังสือที่หายาก มีจำนวนพิมพ์จำกัด และไม่มีการพิมพ์เพิ่มเติม หรือมีภาพสำคัญๆ ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน
6. เป็นหนังสือที่มีราคาแพง
การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมีการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มแตกต่างกันไป เพื่อความเหมาะสมในการค้นหาเรื่องที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถจัดแบ่งรูปแบบการจัดเรียงเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิง (ลมุล รัตตากร. 2539 : 149-153) ดังนี้ 1. เรียงตามลำดับอักษร เป็นการจัดเรียงคำ หรือเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภท พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือคู่มือ นามานุกรม และอักขรานุกรมชีวประวัติ และเป็นพื้นฐานการเรียงสำหรับหนังสืออ้างอิงทุกประเภท 2. เรียงตามหมวดหมู่ เป็นการจัดแบ่งเนื้อเรื่องตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้นจะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้พบในหนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี และบรรณานุกรม 3. เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง การจัดเรียงแบบนี้มักพบในหนังสืออ้างอิงประเภทหนังสือรายปี หนังสืออ้างอิงประเภทประวัติศาสตร์ 4. เรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีปจึงจัดเรียงตามลำดับอักษรของประเทศ จากนั้นจะจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภทหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ลักษณะพิเศษ เพื่อช่วยค้นหาเรื่องราวจากหนังสืออ้างอิง
1. สัญลักษณ์นำเล่ม (volume guide)
เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่สันหรือปกของหนังสือ โดยส่วนใหญ่จะจัดทำขึ้นสำหรับหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด มีหลายเล่มจบ เพื่อบอกลำดับที่ของเล่มนั้นๆ ว่าเป็นเล่มที่เท่าใด ของชุด และเพื่อช่วยให้ทราบว่าเรื่องที่ต้องการอยู่ในเล่มใดของชุดนั้น
2. ดรรชนีหัวแม่มือ / ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (thumb index)
เป็นการตัดกระดาษริมขวาของหนังสืออ้างอิงให้เป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วกำกับด้วยตัวอักษร เพื่อช่วยให้เปิดค้นหาคำต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
3. คำนำทาง หรือ อักษรนำหน้า (guide word / running head)
คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้าในหนังสืออ้างอิง ทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา โดยเป็นการนำคำแรก และคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ เพื่อช่วยให้ค้นหาเรื่องที่ต้องการ ซึ่งอยู่ในช่วงหน้านั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (index)
เป็นการนำคำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิงมาเรียงตามลำดับอักษร และกำกับด้วยเลขหน้าเพื่อบอกว่าคำๆ นั้นอยู่ที่หน้าใด ช่วยทำให้การค้นหาเรื่องรวดเร็วขึ้น โดยปกติ ดรรชนีจะปรากฏอยู่ที่ส่วนท้ายเล่มของหนังสืออ้างอิง หรืออยู่ที่เล่มสุดท้าย ของหนังสืออ้างอิงที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด
รูปที่ 49 ดรรชนี หรือ ดัชนี (index)
ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
5. ส่วนโยง (cross reference) 1) ส่วนโยง ดูที่ (see) เป็นส่วนโยงที่ชี้แนะให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศ จากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูที่” เนื่องจาก คำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า ดูที่ นั้น เป็นคำไม่นิยมใช้ หรือเป็นคำที่ไม่สุภาพ หรือเป็นคำภาษาท้องถิ่น หรือเป็นคำที่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน เช่น
เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก
หมายความว่า เมื่อต้องการสืบค้นคำว่า เอื้องแซะเหลือง ให้ผู้ใช้สืบค้นจากคำว่า เอื้องกาจก แทน ดังนั้นผู้ใช้ต้องไปเปิดที่คำว่าเอื้องกาจกจึงจะพบสารสนเทศที่ต้องการ
2) ส่วนโยง ดูเพิ่มที่ หรือ ดูเพิ่มเติมที่ หรือ ดูเพิ่มเติม (see also) หมายความว่า ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศจากการสืบค้นคำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า “ดูเพิ่มที่” เรียบร้อยแล้ว แต่สารสนเทศที่ได้นั้นยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือมีเรื่องที่ผู้ใช้ควรทราบเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ผู้ผลิตหนังสือจึงได้จัดทำส่วนโยง “ดูเพิ่มที่” เพื่อช่วยชี้แนะให้ผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศเพิ่มเติมจากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูเพิ่มที่” เช่น
เกาะ ดูเพิ่มที่ เกาะดอนแท่น
หมายถึง นอกจากจะพบสารสนเทศเรื่อง เกาะ แล้ว ยังสามารถอ่านสารสนเทศเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเกาะในแง่มุมอื่นๆ อีก ถ้าค้นหาจากคำว่า เกาะดอนแท่น เพิ่มเติม
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ
หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้ใช้จะได้รับความรู้จากสารสนเทศภายในเล่มของหนังสือได้ทันที หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่
1.1 พจนานุกรม (Dictionary)
พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับคำศัพท์ ความหมาย การออกเสียง ประเภทของคำ ประวัติ การใช้คำ คำพ้อง และคำตรงข้าม โดยจัดเรียงคำศัพท์ตามลำดับอักษร ก-ฮ หรือ A-Z ซึ่งลักษณะภาษาที่ปรากฏให้เห็นในพจนานุกรม พจนานุกรมสามารถแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
1.1.1 จำแนกตามภาษาได้ดังนี้ 1) พจนานุกรมภาษาเดียว หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาเดียวกัน เช่น คำศัพท์เป็นภาษาไทย- คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น 2) พจนานุกรมสองภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปล เป็นอีกภาษาหนึ่ง เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ คำศัพท์เป็นภาษาญี่ปุ่น - คำแปลเป็นภาษาไทย เป็นต้น 3) พจนานุกรมหลายภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปลเป็นภาษาอื่นๆ ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาเยอรมัน คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาสเปน เป็นต้น 1.1.2 พจนานุกรมจำแนกตามเนื้อหา เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ ที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
2) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary)
พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
1.2 สารานุกรม (Encyclopedia)
สารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่อธิบายความรู้ ข้อเท็จจริง ในเรื่องต่างๆ ทุกสาขาวิชา โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่ม ตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับสารานุกรมภาษาไทย หรือ A - Z สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษ สารานุกรมจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้ในสาขา วิชาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ
2) สารานุกรมเฉพาะวิชา (Specific Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิง ที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง มีความลึกซึ้งในเนื้อหาวิชามากขึ้นกว่าสารานุกรมทั่วไป
1.3 หนังสือรายปี (Yearbook / Almanac / Annual)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ สถิติ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา มีการจัดพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ และมีกำหนดออก 1 ปี หรือที่เรียกกันว่า กำหนดออกเป็นรายปี โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ซึ่งหน่วยงานทั่วไปมักรู้จักในลักษณะของ รายงานประจำปี
1.4 หนังสือคู่มือ (Handbook)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้อย่างสั้น กะทัดรัด และสามารถใช้ตอบคำถามง่ายๆ ได้ โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสือคู่มือภาษาไทย หรือ A- Z สำหรับหนังสือคู่มือภาษาอังกฤษ หรือจัดเรียงตามลำดับการใช้งานของผลิตภัณฑ์
1.5 นามานุกรม / ทำเนียบนาม (Directory)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อบุคคล หรือรายชื่อหน่วยงาน สถาบันต่างๆ โดยนำรายชื่อเหล่านั้นมาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับนามานุกรมภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับนามานุกรมภาษาอังกฤษ และบอกสถานที่ที่สามารถติดต่อกับชื่อนั้นได้ เช่น ที่อยู่สถานที่ทำงาน ที่อยู่ที่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นามานุกรม บางเล่มให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา และตำแหน่งด้วย เช่น
1.6 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา และมหาสมุทร เป็นต้น หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ หรือ พจนานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer)
มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม แต่เป็นการรวบรวมชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเมือง ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ ชื่อป่าไม้ หรือชื่อสถานที่สำคัญ โดยนำมาจัดเรียงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีป จึงจัดเรียงตามลำดับอักษร ของประเทศต่างๆ จากนั้น จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อ ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง และอธิบายข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง คำอ่าน สถานที่ตั้ง อาณาเขต เส้นรุ้ง เส้นแวง หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
2) หนังสือแผนที่ (Map /Atlas)
เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลลักษณะของพื้นผิว โลก ใช้มาตราส่วนย่อให้เล็กลงตามความต้องการ แผนที่ อาจเป็นแผ่น หรือเป็นเล่มก็ได้ แต่ลักษณะเน้นของแผนที่จะไม่มีคำอธิบายเป็นตัวอักษรมากนัก ส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย เช่น ใช้สีแทนความหนาแน่นของป่าไม้ หรือ ความลึกของทะเล เช่น
3) หนังสือนำเที่ยว (Guidebook)
เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งความรู้เกี่ยวกับสภาพทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ เส้นทางคมนาคม ที่พัก ค่าใช้จ่าย และสถานที่สำคัญๆ เช่น
คู่มือไทยเที่ยวไทย
คู่มือเชลล์ชวนชิม
หนังสืออะเมซิ่งป่าเขาลำเนาไทย
1.7 อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biography)
เป็นหนังสือที่รวบรวมชื่อบุคคลสำคัญทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตไปแล้ว พร้อมประวัติส่วนตัว การศึกษา ผลงาน การดำรงตำแหน่ง ต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียด โดยนำชื่อบุคคลเหล่านั้น มาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาไทย หรือA-Z สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาอังกฤษ
2. หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ
หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่ไม่สามารถอ่านความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ได้ทันทีจากตัวเล่ม แต่จะชี้แนะแหล่งสารสนเทศที่ต้องการว่ามีอยู่ในหนังสือหรือวารสารเล่มใดบ้าง ผู้ใช้ต้องจดรายละเอียดทางบรรณานุกรม เพื่อนำไปสืบค้นหนังสือหรือวารสารเล่มนั้นอีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถอ่านสารสนเทศที่ต้องการได้ หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่ 2.1 บรรณานุกรม (Bibliography)
เป็นหนังสือที่รวบรวมบรรณานุกรมของหนังสือต่างๆ ไว้ โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีพิมพ์ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง บรรณานุกรมบางเล่มอาจมีบทคัดย่อ (Abstract) ให้ด้วย หนังสืออ้างอิงประเภทบรรณานุกรม มีประโยชน์ในการช่วยติดตามความเคลื่อนไหว ในการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่ม และช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้าของสาขาวิชาต่างๆ ที่มีการตีพิมพ์หนังสือออกมา เช่น
2.2 ดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์ (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร และหนังสือพิมพ์ เพื่อบอกแหล่งของบทความว่าปรากฎอยู่ในวารสารชื่อใด และหนังสือพิมพ์ชื่อใด โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปีพ.ศ. และเลขหน้าที่บทความนั้นปรากฏอยู่ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี มีประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้ทราบว่าปัจจุบันมีผู้เขียนบทความเรื่องใด และตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ชื่อใดบ้าง เช่น
การเลือกใช้หนังสืออ้างอิง
การเลือกใช้หนังสืออ้างอิงเพื่อหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะปัญหา และรู้จักประโยชน์ของหนังสืออ้างอิงโดยวิเคราะห์ปัญหาก่อน แล้วพิจารณาว่าจะใช้แหล่งสาสรสนเทศแหล่งเดียว หรือหลายแหล่งโดยมีหลักในการพิจารณาดังนี้
1. พิจารณาคำถามว่าต้องการสารสนเทศอะไร
1.1 คำจำกัดความ
1.2 ข้อมูล ตัวเลข สถิติ
1.3 คำบรรยายอย่างลึกซึ้งหรืออภิปรายอย่างละเอียด
1.4 เรื่องย่อ ๆ
2. คำถามนั้นอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาใด
2.1 ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์
2.2 ต้องเกี่ยวพันหลายสาขาวิชา
2.3 ปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบปัญหา เช่น ยุคสมัย ระยะเวลา และสถานที่
3. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
4. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
5. จำเป็นต้องใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด
5,1 พจนานุกรมทั่วไปเพื่อหาคำจำกัดความ
5.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชาเพื่อค้นหาศัพท์เฉพาะ
5.3 สารานุกรมเพื่อดูเรื่องทั่วไปหรือเรื่องย่อ
5.4 บทความจากวารสารเพื่ออ่านสารสนเทศที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
5.5 หนังสือรายปีเพื่อดูสถิติ
5.6 ใช้หนังสืออ้างอิงหลาย ๆ เล่มรวมกัน
การพิจารณาเลือกใช้หนังสืออ้างอิง จากลักษณะเด่นของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. มีการวางแผนในการจัดเรียบเรียงและเสนอเรื่องเป็นแบบใด
1.1 ลำดับอักษร คำต่อคำ อักษรต่ออักษร
1.2 ตามปฎิทินหรือตามลำดับเหตุการณ์
1.3 ตามหัวข้อ
2. สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในเนื้อหา
3. เครื่องหมายหรือคำอธิบายทางภาษาศาสตร์ที่บอกสำเนียงการออกเสียง
4. ชนิดของดัชนี
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
วิภา ศุภจาริรักษ์ (2542 : 44) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นหนังสือที่เขียนโดย ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชา
2. ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร หรือเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. ใช้ค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชา เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครอบคลุม กว้างขวางทุกสาขาวิชา
4. ช่วยชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้อีก ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าสารสนเทศ ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น บรรณานุกรม และหนังสือดรรชนี
สรุปสาระสำคัญ
หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม และไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด หนังสืออ้างอิงมีลักษณะการจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ มีรูปเล่มขนาดใหญ่ อาจมีหลายเล่มจบ เป็นหนังสือหายาก หรือเป็นหนังสือที่มีราคาแพง หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือสามารถค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ อีก การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงมีหลายรูปแบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร เรียงตามหมวดหมู่ เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา หรือเรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ ลักษณะพิเศษเพื่อช่วยค้นหาสารสนเทศจากหนังสืออ้างอิง มี 5 ลักษณะ ได้แก่ สัญลักษณ์นำเล่ม ดรรชนีหัวแม่มือ (ดรรชนีริมหน้ากระดาษ) อักษรนำหน้า ดรรชนี และส่วนโยง หนังสืออ้างอิงจำแนกได้ 2 ประเภท คือ หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ และหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ
หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีคุณค่า แตกต่างจากหนังสือทั่วไป และเป็นหนังสือที่ใช้ค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หากต้องการความรู้และคำตอบในเรื่องใด ต้องพิจารณาคำถามอย่างระมัดระวัง จึงจะสามารถค้นหาจากหนังสืออ้างอิงได้
กิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้
ให้นักศึกษาสำรวจหนังสืออ้างอิงในห้องสมุดของสถานศึกษา และนำเสนอบนบอร์ดหน้าชั้นเรียนแบ่งตามกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 พจนานุกรม (Dictionary)
กลุ่มที่ 2 สารานุกรม (Encyclopedia)
กลุ่มที่ 3 นามานุกรม (Directory)
กลุ่มที่ 4 หนังสือรายปี (Year Book)
กลุ่มที่ 5 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
โดยแต่ละชื่อเรื่องให้สำรวจในหัวข้อต่อไปนี้
1. ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. การจัดเรียบเรียง
3. ลักษณะพิเศษ
4. ประโยชน์
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 4
หนังสืออ้างอิง
ตอนที่ 1 คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดคือความหมายของหนังสืออ้างอิง
ก . หนังสือที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสือชุด
ข. หนังสือที่รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
ค. หนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบเฉพาะเรื่อง
ง . ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
ก. เป็นหนังสือหายาก ข. เป็นหนังสือราคาแพง
ค. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ ง. เป็นหนังสือที่ไม่ให้ยืมออกจากห้องสมุด
3. ข้อใดคือประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
ก. ทำให้ผู้อ่านมีความรู้มากขึ้น ข. ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ค. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ง. ใช้ค้นหาสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
4. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า clock จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย
ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา
5. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า เจดีย์ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย
ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา
6. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า software จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
ค. New Model English-Thai Dictionary ง. Webster’s New World Dictionary of American English
7. พจนานุกรมที่มีคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ คำแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เรียกว่าพจนานุกรมอะไร
ก. พจนานุกรมภาษาเดียว ข. พจนานุกรมสองภาษา
ค. พจนานุกรมสามภาษา ง. พจนานุกรมหลายภาษา
8. ต้องการทราบประวัติของ ทำเนียบขาว (White House) สามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. The New Encyclopedia Britannica ข. The Encyclopedia Americana
ค. Children’s Britannica ง. Lands and Peoples
9. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC) ในเดือนตุลาคม 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะถูกบันทึกในหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. Guiness Book of World Records ข. Annual of the State of the World
ค. McGraw-Hill Yearbook of America ง. Thailand Yearbook
10. สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
ก. หนังสือรายปี ข. หนังสือคู่มือ
ค. หนังสือทำเนียบนาม ง. หนังสือบรรณานุกรม
11. หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล หรือหน่วยงาน พร้อมสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ คือหนังสือ อ้างอิงเล่มใด
ก. นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย ข. ประมวลชีวิตและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย
ค. สยามจดหมายเหตุ : บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ง. บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
12. ถ้านักศึกษาต้องการทราบว่าจังหวัดลพบุรีมีกี่อำเภอ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
ค. แผนที่ประเทศไทย ง. ท่องเที่ยวประเทศไทย
13. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย คือหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
ค. ท่องเที่ยวประเทศไทย ง. แผนที่ประเทศไทย
14. ถ้านักศึกษาต้องการทราบประวัติของนายอานันท์ ปันยารชุน จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. Thailand Yearbook ข. Thailand bibliography
ค. Who’s who in Thailand ง. Who’s who directory in Thailand
15. ต้องการทราบรายชื่อหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด
ก. บรรณานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ข. นามานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ
ค. สารานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ง. ทำเนียบนามกระทรวงศึกษาธิการ
16. หนังสืออ้างอิงที่มีลักษณะเป็นชุด มีหลายเล่มจบ มีลักษณะพิเศษในข้อใดที่บอกลำดับที่ของเล่ม
ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
17. การตัดกระดาษริมขวาให้เป็นรูปครึ่งวงกลม และกำกับด้วยตัวอักษร เรียกว่าอะไร
ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
18. คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้า โดยการนำคำแรกและคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ที่มุมบนซ้ายและขวา ของหน้าเรียกว่าอะไร
ก. Volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
19. ถ้าต้องการทราบเรื่อง เอื้องแซะเหลือง เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ พบคำว่า เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก หมายความว่าอย่างไร
20. ถ้าต้องการทราบเรื่อง ดาว เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมสำหรับเด็กและเยาวชน พบคำว่า ดาว ดูเพิ่มเติมที่ ดาราศาสตร์ หมายความว่าอย่างไร
ก. ได้เรื่องราวของดาวครบถ้วน และมีความรู้กว้างขึ้นหากเปิดคำว่า ดาราศาสตร์ ด้วย
ข. ได้เรื่องราวของดาวไม่ครบถ้วน ต้องเปิดที่คำว่า ดาราศาสตร์ด้วย
ค. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ครบถ้วนสมบูรณ์
ง. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ไม่ครบถ้วน
ตอนที่ 2 คำสั่ง จงระบุประเภทของหนังสืออ้างอิงเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. Webster’s New World Dictionary of American English เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
2. The World Book Encyclopediaเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
3. Thailand Yearbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
4. The animation producer’s handbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
5. Who was who in the twentieth century? เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
6. Goode’s World Atlas เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
7. Who’s Who in Thailand เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
8. Bibliography children’s books from Asia 1980 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
9. Readers’ Guide to Periodical Literature เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
10. SMEs Directory 2010 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
หนังสืออ้างอิง
ความหมายของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือรวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งห้องสมุดต้องจัดแยกออกจากหนังสือประเภทอื่นๆ
และกำหนดสัญลักษณ์เพิ่มเติมขึ้นเหนือเลขเรียกหนังสือ โดยสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย จะใช้อักษร อ มาจากคำว่า อ้างอิง และหนังสือภาษาต่างประเทศจะใช้อักษร R หรือ Ref มาจากคำว่า Reference ซึ่งหนังสืออ้างอิงจะไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด
อ306.03ส678
อ423.9591ว579พ
Ref030W927
Ref920B782p
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ (2534 : 278) ได้กล่าวถึงลักษณะของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. เป็นหนังสือที่ใช้อ่านเนื้อหาเพียงบางตอน เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ
2. เป็นหนังสือที่มีการจัดเรียงเนื้อหาภายในเล่มอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการใช้ เช่น มีการเรียงตามลำดับอักษร หรือมีการเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ หรือมีความหนามากกว่าปกติ
4. เป็นหนังสือชุด มีหลายเล่มจบ ถ้ายืมออกไปเล่มใดเล่มหนึ่งอาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือสูญหาย การซื้อมาทดแทนไม่สามารถซื้อเพียงบางเล่มได้ ต้องซื้อทั้งชุด
5. เป็นหนังสือที่หายาก มีจำนวนพิมพ์จำกัด และไม่มีการพิมพ์เพิ่มเติม หรือมีภาพสำคัญๆ ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน
6. เป็นหนังสือที่มีราคาแพง
การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมีการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มแตกต่างกันไป เพื่อความเหมาะสมในการค้นหาเรื่องที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถจัดแบ่งรูปแบบการจัดเรียงเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิง (ลมุล รัตตากร. 2539 : 149-153) ดังนี้ 1. เรียงตามลำดับอักษร เป็นการจัดเรียงคำ หรือเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภท พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือคู่มือ นามานุกรม และอักขรานุกรมชีวประวัติ และเป็นพื้นฐานการเรียงสำหรับหนังสืออ้างอิงทุกประเภท 2. เรียงตามหมวดหมู่ เป็นการจัดแบ่งเนื้อเรื่องตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้นจะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้พบในหนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี และบรรณานุกรม 3. เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง การจัดเรียงแบบนี้มักพบในหนังสืออ้างอิงประเภทหนังสือรายปี หนังสืออ้างอิงประเภทประวัติศาสตร์ 4. เรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ เป็นการจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มของหนังสืออ้างอิงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีปจึงจัดเรียงตามลำดับอักษรของประเทศ จากนั้นจะจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อของสถานที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง การจัดเรียงแบบนี้ ได้แก่ หนังสืออ้างอิงประเภทหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ลักษณะพิเศษ เพื่อช่วยค้นหาเรื่องราวจากหนังสืออ้างอิง
1. สัญลักษณ์นำเล่ม (volume guide)
เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่สันหรือปกของหนังสือ โดยส่วนใหญ่จะจัดทำขึ้นสำหรับหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด มีหลายเล่มจบ เพื่อบอกลำดับที่ของเล่มนั้นๆ ว่าเป็นเล่มที่เท่าใด ของชุด และเพื่อช่วยให้ทราบว่าเรื่องที่ต้องการอยู่ในเล่มใดของชุดนั้น
2. ดรรชนีหัวแม่มือ / ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (thumb index)
เป็นการตัดกระดาษริมขวาของหนังสืออ้างอิงให้เป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วกำกับด้วยตัวอักษร เพื่อช่วยให้เปิดค้นหาคำต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
3. คำนำทาง หรือ อักษรนำหน้า (guide word / running head)
คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้าในหนังสืออ้างอิง ทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา โดยเป็นการนำคำแรก และคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ เพื่อช่วยให้ค้นหาเรื่องที่ต้องการ ซึ่งอยู่ในช่วงหน้านั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (index)
เป็นการนำคำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องของหนังสืออ้างอิงมาเรียงตามลำดับอักษร และกำกับด้วยเลขหน้าเพื่อบอกว่าคำๆ นั้นอยู่ที่หน้าใด ช่วยทำให้การค้นหาเรื่องรวดเร็วขึ้น โดยปกติ ดรรชนีจะปรากฏอยู่ที่ส่วนท้ายเล่มของหนังสืออ้างอิง หรืออยู่ที่เล่มสุดท้าย ของหนังสืออ้างอิงที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสืออ้างอิงที่เป็นชุด
รูปที่ 49 ดรรชนี หรือ ดัชนี (index)
ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
5. ส่วนโยง (cross reference) 1) ส่วนโยง ดูที่ (see) เป็นส่วนโยงที่ชี้แนะให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศ จากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูที่” เนื่องจาก คำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า ดูที่ นั้น เป็นคำไม่นิยมใช้ หรือเป็นคำที่ไม่สุภาพ หรือเป็นคำภาษาท้องถิ่น หรือเป็นคำที่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน เช่น
เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก
หมายความว่า เมื่อต้องการสืบค้นคำว่า เอื้องแซะเหลือง ให้ผู้ใช้สืบค้นจากคำว่า เอื้องกาจก แทน ดังนั้นผู้ใช้ต้องไปเปิดที่คำว่าเอื้องกาจกจึงจะพบสารสนเทศที่ต้องการ
2) ส่วนโยง ดูเพิ่มที่ หรือ ดูเพิ่มเติมที่ หรือ ดูเพิ่มเติม (see also) หมายความว่า ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศจากการสืบค้นคำที่อยู่ด้านหน้าคำว่า “ดูเพิ่มที่” เรียบร้อยแล้ว แต่สารสนเทศที่ได้นั้นยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือมีเรื่องที่ผู้ใช้ควรทราบเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ผู้ผลิตหนังสือจึงได้จัดทำส่วนโยง “ดูเพิ่มที่” เพื่อช่วยชี้แนะให้ผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศเพิ่มเติมจากคำสำคัญที่อยู่ด้านหลังคำว่า “ดูเพิ่มที่” เช่น
เกาะ ดูเพิ่มที่ เกาะดอนแท่น
หมายถึง นอกจากจะพบสารสนเทศเรื่อง เกาะ แล้ว ยังสามารถอ่านสารสนเทศเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเกาะในแง่มุมอื่นๆ อีก ถ้าค้นหาจากคำว่า เกาะดอนแท่น เพิ่มเติม
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
1. หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ
หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้ใช้จะได้รับความรู้จากสารสนเทศภายในเล่มของหนังสือได้ทันที หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่
1.1 พจนานุกรม (Dictionary)
พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับคำศัพท์ ความหมาย การออกเสียง ประเภทของคำ ประวัติ การใช้คำ คำพ้อง และคำตรงข้าม โดยจัดเรียงคำศัพท์ตามลำดับอักษร ก-ฮ หรือ A-Z ซึ่งลักษณะภาษาที่ปรากฏให้เห็นในพจนานุกรม พจนานุกรมสามารถแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
1.1.1 จำแนกตามภาษาได้ดังนี้ 1) พจนานุกรมภาษาเดียว หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาเดียวกัน เช่น คำศัพท์เป็นภาษาไทย- คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น 2) พจนานุกรมสองภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปล เป็นอีกภาษาหนึ่ง เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาไทย คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปล เป็นภาษาอังกฤษ คำศัพท์เป็นภาษาญี่ปุ่น - คำแปลเป็นภาษาไทย เป็นต้น 3) พจนานุกรมหลายภาษา หมายถึง พจนานุกรมที่มีคำศัพท์ภาษาหนึ่ง และคำแปลเป็นภาษาอื่นๆ ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป เช่น คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาเยอรมัน คำศัพท์เป็นภาษาไทย - คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ - คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส - คำแปลเป็นภาษาสเปน เป็นต้น 1.1.2 พจนานุกรมจำแนกตามเนื้อหา เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) พจนานุกรมทั่วไป (General Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ ที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป
2) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary)
พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary) เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
1.2 สารานุกรม (Encyclopedia)
สารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่อธิบายความรู้ ข้อเท็จจริง ในเรื่องต่างๆ ทุกสาขาวิชา โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่ม ตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับสารานุกรมภาษาไทย หรือ A - Z สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษ สารานุกรมจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้ในสาขา วิชาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ
2) สารานุกรมเฉพาะวิชา (Specific Encyclopedia) เป็นหนังสืออ้างอิง ที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง มีความลึกซึ้งในเนื้อหาวิชามากขึ้นกว่าสารานุกรมทั่วไป
1.3 หนังสือรายปี (Yearbook / Almanac / Annual)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ สถิติ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา มีการจัดพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ และมีกำหนดออก 1 ปี หรือที่เรียกกันว่า กำหนดออกเป็นรายปี โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ซึ่งหน่วยงานทั่วไปมักรู้จักในลักษณะของ รายงานประจำปี
1.4 หนังสือคู่มือ (Handbook)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้อย่างสั้น กะทัดรัด และสามารถใช้ตอบคำถามง่ายๆ ได้ โดยจัดเรียงชื่อของเนื้อเรื่องภายในเล่มตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับหนังสือคู่มือภาษาไทย หรือ A- Z สำหรับหนังสือคู่มือภาษาอังกฤษ หรือจัดเรียงตามลำดับการใช้งานของผลิตภัณฑ์
1.5 นามานุกรม / ทำเนียบนาม (Directory)
เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อบุคคล หรือรายชื่อหน่วยงาน สถาบันต่างๆ โดยนำรายชื่อเหล่านั้นมาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับนามานุกรมภาษาไทย หรือ A-Z สำหรับนามานุกรมภาษาอังกฤษ และบอกสถานที่ที่สามารถติดต่อกับชื่อนั้นได้ เช่น ที่อยู่สถานที่ทำงาน ที่อยู่ที่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นามานุกรม บางเล่มให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา และตำแหน่งด้วย เช่น
1.6 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา และมหาสมุทร เป็นต้น หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ หรือ พจนานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteer)
มีลักษณะคล้ายพจนานุกรม แต่เป็นการรวบรวมชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเมือง ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ ชื่อป่าไม้ หรือชื่อสถานที่สำคัญ โดยนำมาจัดเรียงตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น จัดเรียงตามลำดับอักษรของทวีปก่อน แล้วภายใต้ทวีป จึงจัดเรียงตามลำดับอักษร ของประเทศต่างๆ จากนั้น จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อ ทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง และอธิบายข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง คำอ่าน สถานที่ตั้ง อาณาเขต เส้นรุ้ง เส้นแวง หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
2) หนังสือแผนที่ (Map /Atlas)
เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลลักษณะของพื้นผิว โลก ใช้มาตราส่วนย่อให้เล็กลงตามความต้องการ แผนที่ อาจเป็นแผ่น หรือเป็นเล่มก็ได้ แต่ลักษณะเน้นของแผนที่จะไม่มีคำอธิบายเป็นตัวอักษรมากนัก ส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย เช่น ใช้สีแทนความหนาแน่นของป่าไม้ หรือ ความลึกของทะเล เช่น
3) หนังสือนำเที่ยว (Guidebook)
เป็นหนังสือคู่มือนักท่องเที่ยว ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งความรู้เกี่ยวกับสภาพทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ เส้นทางคมนาคม ที่พัก ค่าใช้จ่าย และสถานที่สำคัญๆ เช่น
คู่มือไทยเที่ยวไทย
คู่มือเชลล์ชวนชิม
หนังสืออะเมซิ่งป่าเขาลำเนาไทย
1.7 อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biography)
เป็นหนังสือที่รวบรวมชื่อบุคคลสำคัญทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียชีวิตไปแล้ว พร้อมประวัติส่วนตัว การศึกษา ผลงาน การดำรงตำแหน่ง ต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียด โดยนำชื่อบุคคลเหล่านั้น มาจัดเรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาไทย หรือA-Z สำหรับอักขรานุกรมชีวประวัติภาษาอังกฤษ
2. หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ
หมายถึง หนังสืออ้างอิงที่ไม่สามารถอ่านความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ได้ทันทีจากตัวเล่ม แต่จะชี้แนะแหล่งสารสนเทศที่ต้องการว่ามีอยู่ในหนังสือหรือวารสารเล่มใดบ้าง ผู้ใช้ต้องจดรายละเอียดทางบรรณานุกรม เพื่อนำไปสืบค้นหนังสือหรือวารสารเล่มนั้นอีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถอ่านสารสนเทศที่ต้องการได้ หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่ 2.1 บรรณานุกรม (Bibliography)
เป็นหนังสือที่รวบรวมบรรณานุกรมของหนังสือต่างๆ ไว้ โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีพิมพ์ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง บรรณานุกรมบางเล่มอาจมีบทคัดย่อ (Abstract) ให้ด้วย หนังสืออ้างอิงประเภทบรรณานุกรม มีประโยชน์ในการช่วยติดตามความเคลื่อนไหว ในการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่ม และช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้าของสาขาวิชาต่างๆ ที่มีการตีพิมพ์หนังสือออกมา เช่น
2.2 ดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์ (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร และหนังสือพิมพ์ เพื่อบอกแหล่งของบทความว่าปรากฎอยู่ในวารสารชื่อใด และหนังสือพิมพ์ชื่อใด โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปีพ.ศ. และเลขหน้าที่บทความนั้นปรากฏอยู่ โดยจัดเรียงเนื้อเรื่องภายในเล่มตามหมวดหมู่สาขาวิชาต่างๆ แล้วภายใต้หมวดหมู่เหล่านั้น จะจัดเรียงรายการต่างๆ ตามลำดับอักษรอีกครั้งหนึ่ง หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนี มีประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้ทราบว่าปัจจุบันมีผู้เขียนบทความเรื่องใด และตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ชื่อใดบ้าง เช่น
การเลือกใช้หนังสืออ้างอิง
การเลือกใช้หนังสืออ้างอิงเพื่อหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะปัญหา และรู้จักประโยชน์ของหนังสืออ้างอิงโดยวิเคราะห์ปัญหาก่อน แล้วพิจารณาว่าจะใช้แหล่งสาสรสนเทศแหล่งเดียว หรือหลายแหล่งโดยมีหลักในการพิจารณาดังนี้
1. พิจารณาคำถามว่าต้องการสารสนเทศอะไร
1.1 คำจำกัดความ
1.2 ข้อมูล ตัวเลข สถิติ
1.3 คำบรรยายอย่างลึกซึ้งหรืออภิปรายอย่างละเอียด
1.4 เรื่องย่อ ๆ
2. คำถามนั้นอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาใด
2.1 ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์
2.2 ต้องเกี่ยวพันหลายสาขาวิชา
2.3 ปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบปัญหา เช่น ยุคสมัย ระยะเวลา และสถานที่
3. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
4. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
5. จำเป็นต้องใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด
5,1 พจนานุกรมทั่วไปเพื่อหาคำจำกัดความ
5.2 พจนานุกรมเฉพาะวิชาเพื่อค้นหาศัพท์เฉพาะ
5.3 สารานุกรมเพื่อดูเรื่องทั่วไปหรือเรื่องย่อ
5.4 บทความจากวารสารเพื่ออ่านสารสนเทศที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
5.5 หนังสือรายปีเพื่อดูสถิติ
5.6 ใช้หนังสืออ้างอิงหลาย ๆ เล่มรวมกัน
การพิจารณาเลือกใช้หนังสืออ้างอิง จากลักษณะเด่นของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. มีการวางแผนในการจัดเรียบเรียงและเสนอเรื่องเป็นแบบใด
1.1 ลำดับอักษร คำต่อคำ อักษรต่ออักษร
1.2 ตามปฎิทินหรือตามลำดับเหตุการณ์
1.3 ตามหัวข้อ
2. สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในเนื้อหา
3. เครื่องหมายหรือคำอธิบายทางภาษาศาสตร์ที่บอกสำเนียงการออกเสียง
4. ชนิดของดัชนี
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
วิภา ศุภจาริรักษ์ (2542 : 44) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง ดังนี้
1. ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นหนังสือที่เขียนโดย ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชา
2. ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร หรือเรียงตามลำดับหมวดหมู่
3. ใช้ค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชา เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครอบคลุม กว้างขวางทุกสาขาวิชา
4. ช่วยชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้อีก ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าสารสนเทศ ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น บรรณานุกรม และหนังสือดรรชนี
สรุปสาระสำคัญ
หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อความ เฉพาะบางเรื่อง บางตอน โดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม และไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด หนังสืออ้างอิงมีลักษณะการจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ มีรูปเล่มขนาดใหญ่ อาจมีหลายเล่มจบ เป็นหนังสือหายาก หรือเป็นหนังสือที่มีราคาแพง หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือสามารถค้นหาสารสนเทศได้ทุกสาขาวิชาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังชี้แนะแหล่งสารสนเทศอื่นๆ อีก การจัดเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงมีหลายรูปแบบ เช่น เรียงตามลำดับอักษร เรียงตามหมวดหมู่ เรียงตามลำดับเหตุการณ์หรือเวลา หรือเรียงตามลำดับลักษณะภูมิศาสตร์ ลักษณะพิเศษเพื่อช่วยค้นหาสารสนเทศจากหนังสืออ้างอิง มี 5 ลักษณะ ได้แก่ สัญลักษณ์นำเล่ม ดรรชนีหัวแม่มือ (ดรรชนีริมหน้ากระดาษ) อักษรนำหน้า ดรรชนี และส่วนโยง หนังสืออ้างอิงจำแนกได้ 2 ประเภท คือ หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ และหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ
หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่มีคุณค่า แตกต่างจากหนังสือทั่วไป และเป็นหนังสือที่ใช้ค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หากต้องการความรู้และคำตอบในเรื่องใด ต้องพิจารณาคำถามอย่างระมัดระวัง จึงจะสามารถค้นหาจากหนังสืออ้างอิงได้
กิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้
ให้นักศึกษาสำรวจหนังสืออ้างอิงในห้องสมุดของสถานศึกษา และนำเสนอบนบอร์ดหน้าชั้นเรียนแบ่งตามกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 พจนานุกรม (Dictionary)
กลุ่มที่ 2 สารานุกรม (Encyclopedia)
กลุ่มที่ 3 นามานุกรม (Directory)
กลุ่มที่ 4 หนังสือรายปี (Year Book)
กลุ่มที่ 5 หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
โดยแต่ละชื่อเรื่องให้สำรวจในหัวข้อต่อไปนี้
1. ประเภทของหนังสืออ้างอิง
2. การจัดเรียบเรียง
3. ลักษณะพิเศษ
4. ประโยชน์
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 4
หนังสืออ้างอิง
ตอนที่ 1 คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดคือความหมายของหนังสืออ้างอิง
ก . หนังสือที่มีหลายเล่มจบ หรือหนังสือชุด
ข. หนังสือที่รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
ค. หนังสือที่รวบรวมความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบเฉพาะเรื่อง
ง . ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสืออ้างอิง
ก. เป็นหนังสือหายาก ข. เป็นหนังสือราคาแพง
ค. เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่ ง. เป็นหนังสือที่ไม่ให้ยืมออกจากห้องสมุด
3. ข้อใดคือประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
ก. ทำให้ผู้อ่านมีความรู้มากขึ้น ข. ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ค. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ง. ใช้ค้นหาสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
4. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า clock จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย
ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา
5. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า เจดีย์ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์ช่างอังกฤษ-ไทย
ค. พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ง. พจนานุกรมหมวดไทย-อังกฤษฉบับนักศึกษา
6. ถ้านักศึกษาต้องการทราบความหมายของคำว่า software จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ข. พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์
ค. New Model English-Thai Dictionary ง. Webster’s New World Dictionary of American English
7. พจนานุกรมที่มีคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ คำแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เรียกว่าพจนานุกรมอะไร
ก. พจนานุกรมภาษาเดียว ข. พจนานุกรมสองภาษา
ค. พจนานุกรมสามภาษา ง. พจนานุกรมหลายภาษา
8. ต้องการทราบประวัติของ ทำเนียบขาว (White House) สามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. The New Encyclopedia Britannica ข. The Encyclopedia Americana
ค. Children’s Britannica ง. Lands and Peoples
9. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC) ในเดือนตุลาคม 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะถูกบันทึกในหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. Guiness Book of World Records ข. Annual of the State of the World
ค. McGraw-Hill Yearbook of America ง. Thailand Yearbook
10. สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
ก. หนังสือรายปี ข. หนังสือคู่มือ
ค. หนังสือทำเนียบนาม ง. หนังสือบรรณานุกรม
11. หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล หรือหน่วยงาน พร้อมสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ คือหนังสือ อ้างอิงเล่มใด
ก. นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย ข. ประมวลชีวิตและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย
ค. สยามจดหมายเหตุ : บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ง. บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
12. ถ้านักศึกษาต้องการทราบว่าจังหวัดลพบุรีมีกี่อำเภอ จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
ค. แผนที่ประเทศไทย ง. ท่องเที่ยวประเทศไทย
13. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำอธิบาย คือหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ข. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
ค. ท่องเที่ยวประเทศไทย ง. แผนที่ประเทศไทย
14. ถ้านักศึกษาต้องการทราบประวัติของนายอานันท์ ปันยารชุน จะสามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด
ก. Thailand Yearbook ข. Thailand bibliography
ค. Who’s who in Thailand ง. Who’s who directory in Thailand
15. ต้องการทราบรายชื่อหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด
ก. บรรณานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ข. นามานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ
ค. สารานุกรมกระทรวงศึกษาธิการ ง. ทำเนียบนามกระทรวงศึกษาธิการ
16. หนังสืออ้างอิงที่มีลักษณะเป็นชุด มีหลายเล่มจบ มีลักษณะพิเศษในข้อใดที่บอกลำดับที่ของเล่ม
ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
17. การตัดกระดาษริมขวาให้เป็นรูปครึ่งวงกลม และกำกับด้วยตัวอักษร เรียกว่าอะไร
ก. volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
18. คำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนของหน้ากระดาษทุกหน้า โดยการนำคำแรกและคำสุดท้ายของหน้านั้นๆ มาเขียนไว้ที่มุมบนซ้ายและขวา ของหน้าเรียกว่าอะไร
ก. Volume guide ข. Thumb index ค. Guide word ง. Cross reference
19. ถ้าต้องการทราบเรื่อง เอื้องแซะเหลือง เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ พบคำว่า เอื้องแซะเหลือง ดูที่ เอื้องกาจก หมายความว่าอย่างไร
20. ถ้าต้องการทราบเรื่อง ดาว เมื่อสืบค้นจากสารานุกรมสำหรับเด็กและเยาวชน พบคำว่า ดาว ดูเพิ่มเติมที่ ดาราศาสตร์ หมายความว่าอย่างไร
ก. ได้เรื่องราวของดาวครบถ้วน และมีความรู้กว้างขึ้นหากเปิดคำว่า ดาราศาสตร์ ด้วย
ข. ได้เรื่องราวของดาวไม่ครบถ้วน ต้องเปิดที่คำว่า ดาราศาสตร์ด้วย
ค. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ครบถ้วนสมบูรณ์
ง. ได้เรื่องราวของดาราศาสตร์ไม่ครบถ้วน
ตอนที่ 2 คำสั่ง จงระบุประเภทของหนังสืออ้างอิงเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. Webster’s New World Dictionary of American English เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
2. The World Book Encyclopediaเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
3. Thailand Yearbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
4. The animation producer’s handbook เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
5. Who was who in the twentieth century? เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
6. Goode’s World Atlas เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
7. Who’s Who in Thailand เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
8. Bibliography children’s books from Asia 1980 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
9. Readers’ Guide to Periodical Literature เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
10. SMEs Directory 2010 เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด
..........................................................................................................................................................
หน่วยที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
หน่วยที่ 3
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
องค์การสหประชาชาติแบ่งประเภทของทรัพยากร ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ทรัพยากรสารสนเทศมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ ผู้ใช้ห้องสมุดต้องรู้จักการเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการของตน
ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อ (Media) ที่ใช้ถ่ายทอดสารสนเทศ ซึ่งตามปกติสารสนเทศจะไม่มีตัวตน ไม่สามารถจับต้องได้ จำเป็นต้องใช้วัสดุหรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งบรรจุสารสนเทศนั้นๆ เพื่อการถ่านทอดสารสนเทศ (สุกัญญา กุลนิติ. 2549 : 28)
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2547 : 85) ได้ให้ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ไว้ว่า หมายถึง สารสนเทศประเภทต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ในสื่อประเภทต่าง ๆ โดยนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว อาจเรียกชื่อว่าทรัพยากรห้องสมุด (Library Resources) หรือวัสดุห้องสมุด (Library Materials)
ดังนั้นสรุปได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสารสนเทศสู่ผู้ใช้สารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศในห้องสมุด
วัสดุสารสนเทศในห้องสมุด สามารถแบ่ง 3 ประเภท คือ สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) สื่อโสตทัศน์ (Audiovisual Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)
1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) แบ่งย่อย ๆได้ดังต่อไปนี้
1.1 หนังสือ (Books) หมายถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์เป็นตัวอักษรอธิบายเรื่องราว เหตุการณ์ วิชาความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และการกระทำของมนุษย์ ไว้ในรูปเล่มถาวร มีส่วนประกอบที่สมบูรณ์ เช่น ใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบรองปก หน้าชื่อเรื่อง หน้าปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และดรรชนี
หนังสือแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) หนังสือสารคดี (Non-Fiction Book) หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ ตำราวิชาการ หนังสือแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบ หนังสือความรู้ทั่วไป หนังสืออ้างอิง และรายงานการวิจัย
จดหมายเหตุ (Archives) คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน และที่สิ้นกระแสการใช้งานแล้ว ได้รับการประเมินค่าว่าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่าย ฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ แผนที่ แผนผัง โปสเตอร์ เอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานนั้น ปกติจะเป็นเอกสารที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไป ได้รับการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้า อ้างอิง ถือว่าเป็นเอกสารปฐมภูมิที่มีคุณค่า
สิทธิบัตร (Patents) คือ เอกสารที่จดทะเบียนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สารสนเทศเกี่ยวกับวิธีการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
มาตรฐาน (Standards) คือ เอกสารที่ระบุเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงคุณภาพ ความเหมาะสม ความปลอดภัย หรือคุณค่าของสิ่งของ เครื่องมือ และวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน
2) หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Book) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการมุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็กและเยาวชน
2.1) หนังสือนวนิยาย (Fiction) เป็นหนังสือที่เน้นด้านบันเทิง มีเนื้อหาต่อเนื่องกันทั้งเรื่อง โดยผู้แต่งคนเดียว อาจจบภายในเล่มเดียวหรือหลายเล่มจบ
2.2) เรื่องสั้น (Short Story) เป็นหนังสือที่เสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ไม่ยาวนัก สามารถอ่านจบในเวลาอันรวดเร็ว มีขนาดสั้นกว่านวนิยาย อาจมีการรวมเรื่องสั้นหลายเรื่องไว้ในเล่มเดียวกัน โดยมีชื่อเรื่องสำหรับเรียกโดยเฉพาะ หรือนำชื่อของเรื่องสั้นที่เด่นๆ มาเป็นชื่อเรื่องของหนังสือ อาจรวบรวมผลงานของนักประพันธ์คนเดียวหรือหลายคนก็ได้
2.3) หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Books) ส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาพ ใช้ภาพเป็นสื่อในการเสนอเนื้อหา มีสีสวยงาม ชักจูงใจให้เด็กสนใจในการอ่าน เป็นเรื่องสั้นๆ มุ่งสอนจริยธรรมแก่เด็ก ให้ความรู้แก่เด็กในเรื่องต่าง ๆ
1.2 วารสารและนิตยสาร (Journals and Periodicals)
เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกตามวาระ ส่วนใหญ่จะมีกำหนดแน่นอนมีทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 4 เดือน ราย 6 เดือน ตามความเหมาะสม เนื้อหาเสนอในรูปบทความวิชาการ จดหมายข่าว เกร็ดความรู้ ทั้งที่จบในฉบับและแบบต่อเนื่อง เนื้อหาจะมีความทันสมัยมากกว่าหนังสือ เขียนโดยผู้เขียนหลายคน มีทั้งที่เป็นวารสารวิชาการ (Journals) คือ ส่วนใหญ่ เสนอบทความทางวิชาการ สารคดี วารสารที่ให้ความบันเทิง นิยมเรียกว่า "นิตยสาร" (Magazines) มุ่งเน้นทางด้านบันเทิง สาระเบาสมอง
1.3 หนังสือพิมพ์รายวัน (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นรายวันหรือออกประจำทุกวัน อาจจะออกวันละ 1 ฉบับ หรือมากกว่า ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น อาจมีกำหนดออกเป็นราย 7 วัน หรือ 15 วัน ตามความเหมาะสม หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะเสนอข่าวความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม รวมทั้งเสนอบทความ ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องทั่วไปหรือวิชาการ ตลอดจนบันเทิงคดี นวนิยาย สารคดี รวมทั้งโฆษณาสินค้า และบริการ
1.4 จุลสาร(Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กมี่มีเนื้อหาสาระเฉพาะด้าน จบบริบูรณ์ในเล่ม เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญหรือได้รับความสนใจในขณะนั้น จุลสารจัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบ
1.5 กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดผลิตขึ้นโดยการตัดเนื้อหา ข้อความ ข่าวสาร สาระสำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร มาผลึกลงบนกระดาษ กำหนดหัวเรื่องและบอกแหล่งที่มา ตามรูปแบบบรรณานุกรม จากนั้นก็นำไปเก็บใส่แฟ้มแยกตามหัวเรื่อง เพื่อความสะดวก ในการค้นคืน
2 สื่อโสตทัศน์วัสดุ (Audiovisual Material) เป็นวัสดุที่ถ่ายทอดสารสนเทศด้วยวิธีการพิเศษไปจากการสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่อมือหรืออุปกรณ์เป็นพิเศษ ตามวัสดุแต่ละชนิด ต้องใช้วิธีการสลับชับช้อนในการถ่ายทอดสารสนเทศ เช่น
2.1 รูปภาพ (Picture) ได้แก่ภาพถ่าย ภาพศิลปะต้นฉบับ ภาพพิมพ์ ภาพจำลอง ภาพโปสเตอร์ ภาพโปสการ์ด เป็นต้น ภาพเป็นสื่อสารสนเทศที่สามารถอธิบายความหมายในตัว ของมันเอง เป็นเครื่องมือที่ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ สัมผัสความจริงได้ด้วยสายตาของตนเอง ดังคำพูดที่ว่า “ภาพ ๆ เดียวดีกว่าคำพูดเป็นล้านคำ”
2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Material) เป็นสื่อประเภททัศนวัสดุ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย เพื่อแสดงสัญลักษณ์ เกี่ยวกับข้อเท็จจริง แนวความคิด เช่น
1) แผนสถิติ (Graphs) เป็นสื่อสารสนเทศที่ทำขึ้น เพื่อการสื่อความหมายเชิงปริมาณและตัวเลข เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม และกราฟรูปภาพ
2) แผนภูมิ (Charts) เป็นวัสดุสารสนเทศที่เสนอข้อมูลในลักษณะรูปภาพ ภาพลายเส้น ตัวเลข สัญลักษณ์และตัวหนังสือที่แสดงความสัมพันธ์ ความเกี่ยวโยง ความต่อเนื่อง วิวัฒนาการและลักษณะของสิ่งของ วัตถุหรือบุคคล เช่น แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิแบบอธิบายภาพ แผนภูมิเปรียบเทียบ แผนภูมิแบบองค์การ แผนภูมิแบบต้นไม้ เป็นต้น
3) แผนภาพ (Diagrams) เป็นสื่อสารสนเทศที่แสดงส่วนประกอบและระบบการทำงานภายในของสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แสดงโครงสร้าง และความสัมพันธ์ภายในโครงสร้างของวัสดุหรือกระบวนการ โดยใช้ลายเส้นและสัญลักษณ์แสดง มีคำบรรยายประกอบเช่น วงจรไฟฟ้า พิมพ์เขียวในงานก่อสร้างการทำงานของลูกสูบในรถยนต์ เป็นต้น
2.3 วัสดุแผนที่ (Cartographic Material) เป็นวัสดุที่แสดงให้เห็นรูปร่างลักษณะบนผิวโลก ลักษณะภูมิประเทศ สถานที่ ทิศทาง ระยะทาง เส้นกั้นอาณาเขต และสิ่งอื่นๆ ที่ปรากฏบนผิวโลกที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยย่อส่วนสิ่งต่างๆ เหล่านั้น แสดงไว้โดยใช้สี ภาพ สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆ เช่น แผนที่ ลูกโลก
2.4 สไลด์ (Slide) เป็นภาพนิ่งที่ถ่ายลงบทแผ่นฟิล์มโปร่งแสงผนึกกับกรอบกระดาษ หรือพลาสติก มีทั้งสไลด์สีและขาวดำ เมื่อจะใช้ต้องนำไปใช้กับเครื่องฉายสไลด์
2.5 ฟิล์มสตริป (Filmstrips) เป็นภาพนิ่งที่ถ่ายลงบทแผ่นฟิล์มโปร่งใส ขนาด 35 ม.ม. ภาพเรียงตามลำดับของการถ่ายตามความยาวของฟิล์ม เวลาจะใช้ต้องใช้กับเครื่องฉายฟิล์มสตริป
2.6 ภาพยนตร์ (Motion Picture) เป็นสื่อสารสนเทศที่บันทึกภาพบนฟิล์มโพสิทิฟ เรียงต่อเนื่องกันตามลำดับ แต่ละภาพมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันในอัตราความเร็วที่พอเหมาะก็จะปรากฏเป็นภาพเคลื่อนไหว
2.7 วัสดุบันทึกเสียงและภาพ (Sound and Picture Recordings) เป็นสื่อที่บันทึกเสียงและภาพ เช่น
1) แผ่นเสียง (Disc) มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ซึ่งบันทึกเสียงลักษณะเป็นร่อง ไว้บนพื้นผิว เมื่อใส่ลงบนหีบเสียงและให้เข็มเดินบนร่องเสียงก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้
2) แผ่นวีดิทัศน์ (Video Disc) เป็นสื่อสารสนเทศที่พัฒนามาจากแผ่นเสียง ต่างกันที่แผ่นวีดิทัศน์มีการบันทึกสัญญาณภาพและเสียงที่ละเอียดและซับซ้อนมากกว่า
3) เทปบันทึกเสียง (Sound Tape) เป็นวัสดุบันทึกเสียงโดยอาศัยการทำงาน ของเครื่องบันทึกเสียง เช่น เทปม้วน เทปตลับ เทปกล่อง
4) แถบวีดิทัศน์ (Video Tape) เป็นแถบบันทึกเสียงและภาพ ที่สามารถเล่นได้จากเครื่องเล่น
วีดิทัศน์โดยชมภาพและเสียงจากโทรทัศน์
2.8 หุ่นจำลอง (Models) เป็นวัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริงที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้โดยตรง เช่น หุ่นจำลองลักษณะภายนอก หุ่นจำลองแบบย่อหรือขยาย หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน เป็นต้น
2.9 ของตัวอย่าง (Specimens) เป็นสารสนเทศที่นำมาเป็นตัวแทนของสิ่งหนึ่ง อาจเอามาเป็นบางส่วนของๆ จริง หรือของเลียนแบบที่คล้ายของจริง เช่น ตัวอย่างหิน แร่ธาตุต่างๆ
2.10 วัสดุย่อส่วน (Microforms) เป็นสารสนเทศที่ย่อส่วนจากต้นฉบับมาลงบทแผ่นฟิล์มที่มีขนาดเล็กลงจนไม่สามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้ ต้องใช้เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วน จึงสามารถประหยัดงบประมาณและเนื้อที่ในการจัดเก็บ และสามารถรักษาต้นฉบับของสารสนเทศให้มีอายุยืนนานอีกด้วย เช่น
1) ไมโครฟิล์ม (Microfilm) ได้จากการถ่ายภาพสารสนเทศต้นฉบับต่างๆ ลงบนฟิล์ม การบรรจุสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดของฟิล์ม ไมโครฟิล์มอาจย่อจากต้นฉบับลงได้ประมาณ 15:1 ถึง 40 : 1
2) ไมโครฟิซ (Microfiche) มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มโปร่งใสโดยย่อจากต้นฉบับลงได้ประมาณ 15:1 ถึง 40 : 1 มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มขนาด 3 นิ้ว คูณ 5 นิ้ว ขนาด 4 นิ้ว คูณ 6 นิ้ว หรือ ขนาด 6 นิ้ว คูณ 8 นิ้ว สามารถเก็บสารสนเทศได้ประมาณ 100 หน้า
3) อัลตราฟิซ (Ultra fiche) คือไมโครฟิซที่ย่อส่วนลงขนาดเล็กมาก แผ่นฟิล์มขนาด 4 นิ้ว คูณ 6 นิ้ว สามารถบรรจุข้อความในหนังสือได้ประมาณ 3,000 หน้า
2.11 วิทยุ (Radio) เช่น รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
2.12 โทรทัศน์ (Televisions) เช่น รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน
รูปที่ 43 เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปอักษร ภาพ และเสียงไว้ โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียงอีกครั้งหนึ่ง เช่น 3.1 เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) มีลักษณะคล้ายแถบบันทึกเสียง ความยาวปกติ 2,400 ฟุต กว้าง 0.5 นิ้ว ทำด้วยพลาสติก เคลือบด้วยสารไอออนออกไซด์ (Iron Oxide) ทำให้เป็นสารแม่เหล็ก ข้อมูลที่มีความยาว 80 ตัวอักษร สามารถบันทึกไว้ในเทปแม่เหล็กที่มีความยาวเพียง 0.1 นิ้ว หรือ 1 ม้วน บรรจุข้อมูลได้ถึง 100 ล้านตัวอักษร สามารถบันทึกซ้ำหรือลบข้อมูลได้
3.2 จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (diskettes) เป็นแผ่นโลหะหุ้มด้วยไมลาอีก 1 ชั้น มีหลายชนิดและหลายขนาด แต่ละชนิดมีสมรรถนะความจุในการบันทึกข้อมูลได้แตกต่างกัน
รูปที่ 44 จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (diskettes)
ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
3.3 แผ่นจานแสง (optical disc) เป็นแผ่นโลหะผสมพิเศษ มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว บันทึกและอ่านสารสนเทศด้วยระบบแสงเลเซอร์ ต้องมีเครื่องบันทึกและอ่านโดยเฉพาะ ประเภทของจานแสงที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด คือ ซีดี-รอม (Compact Disc Read Only Memory - CD-ROM) มีลักษณะเหมือนแผ่นจานแสงทั่วไป ใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ แผ่นซีดี-รอม มีความสามารถในการบรรจุสารสนเทศได้มาก ซีดี-รอม 1 แผ่น จุข้อความได้เทียบเท่าหนังสือหนาประมาณ 300,000 หน้ากระดาษ หรือ 600 ล้านตัวอักษร ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม (multimedia) และเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
รูปที่ 45 แผ่นจานแสง (optical disc) ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
3.4 ฐานข้อมูลสำเร็จรูป ซีดี-รอม (compact Disc-Read Only Memory Database) เป็นแผ่นซีดีที่บันทึกข้อมูลเป็นรูปดิจิตอลซีดี-รอม 1 แผ่นสามารถบรรจุข้อมูลเท่ากับกระดาษ A4 ประมาณ 250,000 หน้า สามารถบันทึกสารสนเทศแบบสื่อผสม สารสนเทศที่บันทึกลงไปไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบได้
3.5 ฐานข้อมูลบัตรรายการออนไลน์ (OPAC : Online Public Access Catalog Database) เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศวัสดุในห้องสมุด เช่น ฐานข้อมูลหนังสือ วารสาร สื่อโสตทัศน์ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ บางห้องสมุดอาจมีฐานข้อมูลเต็มรูป ( Full-text Database)
3.6 ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก โดยใช้ข้อมูลจากซีดี-รอม หรือใช้ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ท เช่น ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ฐานข้อมูลทางธุรกิจ ผู้ใช้บริการฐานข้อมูลเหล่านี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกและต้องเสียค่าใช้จ่ายในรูปค่าเช่าหรือค่าธรรมเนียมในหารผ่านเข้าไปยังข้อมูล
3.7 อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายที่รวมเอาเครือข่ายย่อยๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายของเครือข่าย ติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกันได้ อินเทอร์เน็ตมีบริการต่างๆ ที่ช่วยให้สามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย ประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น ยังเป็นสื่อกลางสำหรับการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การติดตามข่าวสาร เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสารสนเทศสู่ผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้บริการสารสนเทศต้องเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมจะสามารถประหยัดเวลาในการศึกษาและจะได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ
แบบแบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 3
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
ตอนที่ 1 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. วัสดุสารสนเทศมีวัสดุประเภทใดบ้าง
ก. หนังสือและสื่อโสตทัศน์
ข. วัสดุตีพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
ค. สื่อสิงพิมพ์ และสื่อโสตทัศน์
ง. สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ข้อใดเป็นสื่อสิ่งพิมพ์
ก. เทปวีดิทัศน์ ข. กฤตภาค
ค. ภาพเลื่อน ง. ภาพยนตร์
3. สิ่งพิมพ์ที่รัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบัน จัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ ความยาวไม่เกิน 60 หน้ากระดาษ เนื้อหาเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หมายถึงสิ่งพิมพ์ประเภทใด
ก. จุลสาร ข. กฤตภาค
ค. นวนิยาย ง. รายงานการวิจัย
4. สิ่งพิมพ์ที่ตัดข่าว หรือบทความที่สำคัญ ติดลงบนกระดาษ ให้หัวเรื่องแล้วเก็บเข้าแฟ้มตามหัวเรื่องนั้น ๆ คือ
ก. หนังสือพิมพ์ ข. วารสาร ค. กฤตภาค ง. จุลสาร
5. สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกอย่างสม่ำเสมอ คือ
ก. หนังสือ ข. วารสาร ค. กฤตภาค ง. จุลสาร
6. วารสารเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
ก. สื่อโสตทัศน์ ข. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค. สื่อสิ่งพิมพ์ ง. วัสดุย่อส่วน
7. หนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการและประสบการณ์ได้แก่ข้อใด
ก. ปรัชญา ข. นวนิยาย
ค. ตำรา ง. พจนานุกรม
8. วารสารชนิดใดต่อไปนี้ เสนอข่าวในรูปของการวิเคราะห์วิจารณ์
ก. วารสารรามคำแหง ข. วารสารเคมีสัมพันธ์
ค. มติชนสุดสัปดาห์ ง. แพรว
9. “ ไดอะแกรม “ เป็นชื่อเรียกของอะไร
ก. แผนภาพ ข. แผนภูมิ ค. แผนสถิติ ง. แผ่นโปร่งใส
10. สื่อสารสนเทศข้อใดบันทึกสารสนเทศได้มากที่สุด
ก.หนังสือ ข.วัสดุย่อส่วน ค.ซีดี-รอม ง. แถบบันทึกเสียง
ตอนที่ 2 คำสั่ง จงอธิบายอย่างสั้น ๆ พอเข้าใจ
1. ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง อะไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. หนังสือ กับวารสารแตกต่างกันอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
3. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดวิทยาลัยของท่านมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. บริการสารนเทศในห้องสมุดที่นักศึกษาใช้เป็นประจำได้แก่บริการอะไรบ้าง เพราะเหตุใด
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
องค์การสหประชาชาติแบ่งประเภทของทรัพยากร ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ทรัพยากรสารสนเทศมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ ผู้ใช้ห้องสมุดต้องรู้จักการเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการของตน
ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อ (Media) ที่ใช้ถ่ายทอดสารสนเทศ ซึ่งตามปกติสารสนเทศจะไม่มีตัวตน ไม่สามารถจับต้องได้ จำเป็นต้องใช้วัสดุหรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งบรรจุสารสนเทศนั้นๆ เพื่อการถ่านทอดสารสนเทศ (สุกัญญา กุลนิติ. 2549 : 28)
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2547 : 85) ได้ให้ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ไว้ว่า หมายถึง สารสนเทศประเภทต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ในสื่อประเภทต่าง ๆ โดยนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว อาจเรียกชื่อว่าทรัพยากรห้องสมุด (Library Resources) หรือวัสดุห้องสมุด (Library Materials)
ดังนั้นสรุปได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสารสนเทศสู่ผู้ใช้สารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศในห้องสมุด
วัสดุสารสนเทศในห้องสมุด สามารถแบ่ง 3 ประเภท คือ สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) สื่อโสตทัศน์ (Audiovisual Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)
1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) แบ่งย่อย ๆได้ดังต่อไปนี้
1.1 หนังสือ (Books) หมายถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์เป็นตัวอักษรอธิบายเรื่องราว เหตุการณ์ วิชาความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และการกระทำของมนุษย์ ไว้ในรูปเล่มถาวร มีส่วนประกอบที่สมบูรณ์ เช่น ใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบรองปก หน้าชื่อเรื่อง หน้าปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และดรรชนี
หนังสือแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) หนังสือสารคดี (Non-Fiction Book) หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ ตำราวิชาการ หนังสือแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบ หนังสือความรู้ทั่วไป หนังสืออ้างอิง และรายงานการวิจัย
จดหมายเหตุ (Archives) คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน และที่สิ้นกระแสการใช้งานแล้ว ได้รับการประเมินค่าว่าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่าย ฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ แผนที่ แผนผัง โปสเตอร์ เอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานนั้น ปกติจะเป็นเอกสารที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไป ได้รับการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้า อ้างอิง ถือว่าเป็นเอกสารปฐมภูมิที่มีคุณค่า
สิทธิบัตร (Patents) คือ เอกสารที่จดทะเบียนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สารสนเทศเกี่ยวกับวิธีการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
มาตรฐาน (Standards) คือ เอกสารที่ระบุเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงคุณภาพ ความเหมาะสม ความปลอดภัย หรือคุณค่าของสิ่งของ เครื่องมือ และวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐาน
2) หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Book) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการมุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็กและเยาวชน
2.1) หนังสือนวนิยาย (Fiction) เป็นหนังสือที่เน้นด้านบันเทิง มีเนื้อหาต่อเนื่องกันทั้งเรื่อง โดยผู้แต่งคนเดียว อาจจบภายในเล่มเดียวหรือหลายเล่มจบ
2.2) เรื่องสั้น (Short Story) เป็นหนังสือที่เสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ไม่ยาวนัก สามารถอ่านจบในเวลาอันรวดเร็ว มีขนาดสั้นกว่านวนิยาย อาจมีการรวมเรื่องสั้นหลายเรื่องไว้ในเล่มเดียวกัน โดยมีชื่อเรื่องสำหรับเรียกโดยเฉพาะ หรือนำชื่อของเรื่องสั้นที่เด่นๆ มาเป็นชื่อเรื่องของหนังสือ อาจรวบรวมผลงานของนักประพันธ์คนเดียวหรือหลายคนก็ได้
2.3) หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Books) ส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาพ ใช้ภาพเป็นสื่อในการเสนอเนื้อหา มีสีสวยงาม ชักจูงใจให้เด็กสนใจในการอ่าน เป็นเรื่องสั้นๆ มุ่งสอนจริยธรรมแก่เด็ก ให้ความรู้แก่เด็กในเรื่องต่าง ๆ
1.2 วารสารและนิตยสาร (Journals and Periodicals)
เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกตามวาระ ส่วนใหญ่จะมีกำหนดแน่นอนมีทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 4 เดือน ราย 6 เดือน ตามความเหมาะสม เนื้อหาเสนอในรูปบทความวิชาการ จดหมายข่าว เกร็ดความรู้ ทั้งที่จบในฉบับและแบบต่อเนื่อง เนื้อหาจะมีความทันสมัยมากกว่าหนังสือ เขียนโดยผู้เขียนหลายคน มีทั้งที่เป็นวารสารวิชาการ (Journals) คือ ส่วนใหญ่ เสนอบทความทางวิชาการ สารคดี วารสารที่ให้ความบันเทิง นิยมเรียกว่า "นิตยสาร" (Magazines) มุ่งเน้นทางด้านบันเทิง สาระเบาสมอง
1.3 หนังสือพิมพ์รายวัน (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นรายวันหรือออกประจำทุกวัน อาจจะออกวันละ 1 ฉบับ หรือมากกว่า ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น อาจมีกำหนดออกเป็นราย 7 วัน หรือ 15 วัน ตามความเหมาะสม หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะเสนอข่าวความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม รวมทั้งเสนอบทความ ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องทั่วไปหรือวิชาการ ตลอดจนบันเทิงคดี นวนิยาย สารคดี รวมทั้งโฆษณาสินค้า และบริการ
1.4 จุลสาร(Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กมี่มีเนื้อหาสาระเฉพาะด้าน จบบริบูรณ์ในเล่ม เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญหรือได้รับความสนใจในขณะนั้น จุลสารจัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบ
1.5 กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดผลิตขึ้นโดยการตัดเนื้อหา ข้อความ ข่าวสาร สาระสำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร มาผลึกลงบนกระดาษ กำหนดหัวเรื่องและบอกแหล่งที่มา ตามรูปแบบบรรณานุกรม จากนั้นก็นำไปเก็บใส่แฟ้มแยกตามหัวเรื่อง เพื่อความสะดวก ในการค้นคืน
2 สื่อโสตทัศน์วัสดุ (Audiovisual Material) เป็นวัสดุที่ถ่ายทอดสารสนเทศด้วยวิธีการพิเศษไปจากการสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่อมือหรืออุปกรณ์เป็นพิเศษ ตามวัสดุแต่ละชนิด ต้องใช้วิธีการสลับชับช้อนในการถ่ายทอดสารสนเทศ เช่น
2.1 รูปภาพ (Picture) ได้แก่ภาพถ่าย ภาพศิลปะต้นฉบับ ภาพพิมพ์ ภาพจำลอง ภาพโปสเตอร์ ภาพโปสการ์ด เป็นต้น ภาพเป็นสื่อสารสนเทศที่สามารถอธิบายความหมายในตัว ของมันเอง เป็นเครื่องมือที่ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ สัมผัสความจริงได้ด้วยสายตาของตนเอง ดังคำพูดที่ว่า “ภาพ ๆ เดียวดีกว่าคำพูดเป็นล้านคำ”
2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Material) เป็นสื่อประเภททัศนวัสดุ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย เพื่อแสดงสัญลักษณ์ เกี่ยวกับข้อเท็จจริง แนวความคิด เช่น
1) แผนสถิติ (Graphs) เป็นสื่อสารสนเทศที่ทำขึ้น เพื่อการสื่อความหมายเชิงปริมาณและตัวเลข เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม และกราฟรูปภาพ
2) แผนภูมิ (Charts) เป็นวัสดุสารสนเทศที่เสนอข้อมูลในลักษณะรูปภาพ ภาพลายเส้น ตัวเลข สัญลักษณ์และตัวหนังสือที่แสดงความสัมพันธ์ ความเกี่ยวโยง ความต่อเนื่อง วิวัฒนาการและลักษณะของสิ่งของ วัตถุหรือบุคคล เช่น แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิแบบอธิบายภาพ แผนภูมิเปรียบเทียบ แผนภูมิแบบองค์การ แผนภูมิแบบต้นไม้ เป็นต้น
3) แผนภาพ (Diagrams) เป็นสื่อสารสนเทศที่แสดงส่วนประกอบและระบบการทำงานภายในของสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แสดงโครงสร้าง และความสัมพันธ์ภายในโครงสร้างของวัสดุหรือกระบวนการ โดยใช้ลายเส้นและสัญลักษณ์แสดง มีคำบรรยายประกอบเช่น วงจรไฟฟ้า พิมพ์เขียวในงานก่อสร้างการทำงานของลูกสูบในรถยนต์ เป็นต้น
2.3 วัสดุแผนที่ (Cartographic Material) เป็นวัสดุที่แสดงให้เห็นรูปร่างลักษณะบนผิวโลก ลักษณะภูมิประเทศ สถานที่ ทิศทาง ระยะทาง เส้นกั้นอาณาเขต และสิ่งอื่นๆ ที่ปรากฏบนผิวโลกที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยย่อส่วนสิ่งต่างๆ เหล่านั้น แสดงไว้โดยใช้สี ภาพ สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆ เช่น แผนที่ ลูกโลก
2.4 สไลด์ (Slide) เป็นภาพนิ่งที่ถ่ายลงบทแผ่นฟิล์มโปร่งแสงผนึกกับกรอบกระดาษ หรือพลาสติก มีทั้งสไลด์สีและขาวดำ เมื่อจะใช้ต้องนำไปใช้กับเครื่องฉายสไลด์
2.5 ฟิล์มสตริป (Filmstrips) เป็นภาพนิ่งที่ถ่ายลงบทแผ่นฟิล์มโปร่งใส ขนาด 35 ม.ม. ภาพเรียงตามลำดับของการถ่ายตามความยาวของฟิล์ม เวลาจะใช้ต้องใช้กับเครื่องฉายฟิล์มสตริป
2.6 ภาพยนตร์ (Motion Picture) เป็นสื่อสารสนเทศที่บันทึกภาพบนฟิล์มโพสิทิฟ เรียงต่อเนื่องกันตามลำดับ แต่ละภาพมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันในอัตราความเร็วที่พอเหมาะก็จะปรากฏเป็นภาพเคลื่อนไหว
2.7 วัสดุบันทึกเสียงและภาพ (Sound and Picture Recordings) เป็นสื่อที่บันทึกเสียงและภาพ เช่น
1) แผ่นเสียง (Disc) มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ซึ่งบันทึกเสียงลักษณะเป็นร่อง ไว้บนพื้นผิว เมื่อใส่ลงบนหีบเสียงและให้เข็มเดินบนร่องเสียงก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้
2) แผ่นวีดิทัศน์ (Video Disc) เป็นสื่อสารสนเทศที่พัฒนามาจากแผ่นเสียง ต่างกันที่แผ่นวีดิทัศน์มีการบันทึกสัญญาณภาพและเสียงที่ละเอียดและซับซ้อนมากกว่า
3) เทปบันทึกเสียง (Sound Tape) เป็นวัสดุบันทึกเสียงโดยอาศัยการทำงาน ของเครื่องบันทึกเสียง เช่น เทปม้วน เทปตลับ เทปกล่อง
4) แถบวีดิทัศน์ (Video Tape) เป็นแถบบันทึกเสียงและภาพ ที่สามารถเล่นได้จากเครื่องเล่น
วีดิทัศน์โดยชมภาพและเสียงจากโทรทัศน์
2.8 หุ่นจำลอง (Models) เป็นวัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริงที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้โดยตรง เช่น หุ่นจำลองลักษณะภายนอก หุ่นจำลองแบบย่อหรือขยาย หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน เป็นต้น
2.9 ของตัวอย่าง (Specimens) เป็นสารสนเทศที่นำมาเป็นตัวแทนของสิ่งหนึ่ง อาจเอามาเป็นบางส่วนของๆ จริง หรือของเลียนแบบที่คล้ายของจริง เช่น ตัวอย่างหิน แร่ธาตุต่างๆ
2.10 วัสดุย่อส่วน (Microforms) เป็นสารสนเทศที่ย่อส่วนจากต้นฉบับมาลงบทแผ่นฟิล์มที่มีขนาดเล็กลงจนไม่สามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้ ต้องใช้เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วน จึงสามารถประหยัดงบประมาณและเนื้อที่ในการจัดเก็บ และสามารถรักษาต้นฉบับของสารสนเทศให้มีอายุยืนนานอีกด้วย เช่น
1) ไมโครฟิล์ม (Microfilm) ได้จากการถ่ายภาพสารสนเทศต้นฉบับต่างๆ ลงบนฟิล์ม การบรรจุสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดของฟิล์ม ไมโครฟิล์มอาจย่อจากต้นฉบับลงได้ประมาณ 15:1 ถึง 40 : 1
2) ไมโครฟิซ (Microfiche) มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มโปร่งใสโดยย่อจากต้นฉบับลงได้ประมาณ 15:1 ถึง 40 : 1 มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มขนาด 3 นิ้ว คูณ 5 นิ้ว ขนาด 4 นิ้ว คูณ 6 นิ้ว หรือ ขนาด 6 นิ้ว คูณ 8 นิ้ว สามารถเก็บสารสนเทศได้ประมาณ 100 หน้า
3) อัลตราฟิซ (Ultra fiche) คือไมโครฟิซที่ย่อส่วนลงขนาดเล็กมาก แผ่นฟิล์มขนาด 4 นิ้ว คูณ 6 นิ้ว สามารถบรรจุข้อความในหนังสือได้ประมาณ 3,000 หน้า
2.11 วิทยุ (Radio) เช่น รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
2.12 โทรทัศน์ (Televisions) เช่น รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน
รูปที่ 43 เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปอักษร ภาพ และเสียงไว้ โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียงอีกครั้งหนึ่ง เช่น 3.1 เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) มีลักษณะคล้ายแถบบันทึกเสียง ความยาวปกติ 2,400 ฟุต กว้าง 0.5 นิ้ว ทำด้วยพลาสติก เคลือบด้วยสารไอออนออกไซด์ (Iron Oxide) ทำให้เป็นสารแม่เหล็ก ข้อมูลที่มีความยาว 80 ตัวอักษร สามารถบันทึกไว้ในเทปแม่เหล็กที่มีความยาวเพียง 0.1 นิ้ว หรือ 1 ม้วน บรรจุข้อมูลได้ถึง 100 ล้านตัวอักษร สามารถบันทึกซ้ำหรือลบข้อมูลได้
3.2 จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (diskettes) เป็นแผ่นโลหะหุ้มด้วยไมลาอีก 1 ชั้น มีหลายชนิดและหลายขนาด แต่ละชนิดมีสมรรถนะความจุในการบันทึกข้อมูลได้แตกต่างกัน
รูปที่ 44 จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (diskettes)
ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
3.3 แผ่นจานแสง (optical disc) เป็นแผ่นโลหะผสมพิเศษ มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว บันทึกและอ่านสารสนเทศด้วยระบบแสงเลเซอร์ ต้องมีเครื่องบันทึกและอ่านโดยเฉพาะ ประเภทของจานแสงที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด คือ ซีดี-รอม (Compact Disc Read Only Memory - CD-ROM) มีลักษณะเหมือนแผ่นจานแสงทั่วไป ใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ แผ่นซีดี-รอม มีความสามารถในการบรรจุสารสนเทศได้มาก ซีดี-รอม 1 แผ่น จุข้อความได้เทียบเท่าหนังสือหนาประมาณ 300,000 หน้ากระดาษ หรือ 600 ล้านตัวอักษร ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม (multimedia) และเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
รูปที่ 45 แผ่นจานแสง (optical disc) ที่มา : ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
3.4 ฐานข้อมูลสำเร็จรูป ซีดี-รอม (compact Disc-Read Only Memory Database) เป็นแผ่นซีดีที่บันทึกข้อมูลเป็นรูปดิจิตอลซีดี-รอม 1 แผ่นสามารถบรรจุข้อมูลเท่ากับกระดาษ A4 ประมาณ 250,000 หน้า สามารถบันทึกสารสนเทศแบบสื่อผสม สารสนเทศที่บันทึกลงไปไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบได้
3.5 ฐานข้อมูลบัตรรายการออนไลน์ (OPAC : Online Public Access Catalog Database) เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศวัสดุในห้องสมุด เช่น ฐานข้อมูลหนังสือ วารสาร สื่อโสตทัศน์ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ บางห้องสมุดอาจมีฐานข้อมูลเต็มรูป ( Full-text Database)
3.6 ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก โดยใช้ข้อมูลจากซีดี-รอม หรือใช้ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ท เช่น ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ฐานข้อมูลทางธุรกิจ ผู้ใช้บริการฐานข้อมูลเหล่านี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกและต้องเสียค่าใช้จ่ายในรูปค่าเช่าหรือค่าธรรมเนียมในหารผ่านเข้าไปยังข้อมูล
3.7 อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายที่รวมเอาเครือข่ายย่อยๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายของเครือข่าย ติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกันได้ อินเทอร์เน็ตมีบริการต่างๆ ที่ช่วยให้สามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย ประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น ยังเป็นสื่อกลางสำหรับการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การติดตามข่าวสาร เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสารสนเทศสู่ผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้บริการสารสนเทศต้องเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมจะสามารถประหยัดเวลาในการศึกษาและจะได้ข้อมูลตรงตามความต้องการ
แบบแบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 3
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
ตอนที่ 1 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. วัสดุสารสนเทศมีวัสดุประเภทใดบ้าง
ก. หนังสือและสื่อโสตทัศน์
ข. วัสดุตีพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
ค. สื่อสิงพิมพ์ และสื่อโสตทัศน์
ง. สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ข้อใดเป็นสื่อสิ่งพิมพ์
ก. เทปวีดิทัศน์ ข. กฤตภาค
ค. ภาพเลื่อน ง. ภาพยนตร์
3. สิ่งพิมพ์ที่รัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบัน จัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ ความยาวไม่เกิน 60 หน้ากระดาษ เนื้อหาเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หมายถึงสิ่งพิมพ์ประเภทใด
ก. จุลสาร ข. กฤตภาค
ค. นวนิยาย ง. รายงานการวิจัย
4. สิ่งพิมพ์ที่ตัดข่าว หรือบทความที่สำคัญ ติดลงบนกระดาษ ให้หัวเรื่องแล้วเก็บเข้าแฟ้มตามหัวเรื่องนั้น ๆ คือ
ก. หนังสือพิมพ์ ข. วารสาร ค. กฤตภาค ง. จุลสาร
5. สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกอย่างสม่ำเสมอ คือ
ก. หนังสือ ข. วารสาร ค. กฤตภาค ง. จุลสาร
6. วารสารเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
ก. สื่อโสตทัศน์ ข. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค. สื่อสิ่งพิมพ์ ง. วัสดุย่อส่วน
7. หนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการและประสบการณ์ได้แก่ข้อใด
ก. ปรัชญา ข. นวนิยาย
ค. ตำรา ง. พจนานุกรม
8. วารสารชนิดใดต่อไปนี้ เสนอข่าวในรูปของการวิเคราะห์วิจารณ์
ก. วารสารรามคำแหง ข. วารสารเคมีสัมพันธ์
ค. มติชนสุดสัปดาห์ ง. แพรว
9. “ ไดอะแกรม “ เป็นชื่อเรียกของอะไร
ก. แผนภาพ ข. แผนภูมิ ค. แผนสถิติ ง. แผ่นโปร่งใส
10. สื่อสารสนเทศข้อใดบันทึกสารสนเทศได้มากที่สุด
ก.หนังสือ ข.วัสดุย่อส่วน ค.ซีดี-รอม ง. แถบบันทึกเสียง
ตอนที่ 2 คำสั่ง จงอธิบายอย่างสั้น ๆ พอเข้าใจ
1. ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง อะไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. หนังสือ กับวารสารแตกต่างกันอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
3. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดวิทยาลัยของท่านมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. บริการสารนเทศในห้องสมุดที่นักศึกษาใช้เป็นประจำได้แก่บริการอะไรบ้าง เพราะเหตุใด
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
หน่วยที่ 2 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
หน่วยที่ 2
สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
ในศตวรรษที่ 21 ถือว่าเป็นยุคสารสนเทศ (Information age) เพราะสารสนเทศมีมากมหาศาล หลากหลายรูปแบบ บุคคลต้องเผชิญกับสารสนเทศ ซึ่งสามารถพบได้ทุกที่ ด้วยวิธีการ ที่แตกต่างกัน การรู้สารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สารสนเทศ โดยเป็นกระบวนการ ทางปัญญา เพื่อสร้างความเข้าใจ ในความต้องการสารสนเทศ การค้นหาการประเมิน การใช้สารสนเทศ และการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ และการรู้สารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ
ความหมายของสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นนามธรรม รูปธรรมมีความหมายที่บ่งบอกได้ในตัวเอง มีคุณค่าควรแก่นำไปดำเนินการให้สื่อความหมายได้
ข่าวสาร หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์ หรือข้อมูลที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่ และต้องการจะเผยแพร่ต่อไป
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่รวบรวม เรียบเรียงหรือดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ ระหว่างผู้สื่อ และผู้รับ สามารถนำไปใช้ได้ตามที่ต้องการ
สมาคมห้องสมุดอเมริกันให้คำจำกัดความของคำว่า Information ว่าหมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง และผลงานที่เกิดขึ้นจากจิตใจทั้งหมด ซึ่งมีวิธีการติดต่อสื่อสาร มีการจดบันทึกรวบรวม มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือมีวิธีการแจกจ่ายทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในทุกรูปแบบ (Young. 1983 : 117)
พาล์มเมอร์ (Palmer. 1987 : 6) ให้ความหมายที่สั้นกะทัดรัดว่า Information คือ ข้อมูลซึ่งใช้ในการตัดสินใจ
สารสนเทศ คือ ทักษะที่จะค้นหา การค้นคืน การวิเคราะห์ และการใช้สารสนเทศ (Knauer, Kelly : 2003)
สนเทศ น. คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. 2546 : 1119)
สารสนเทศ น. ข่าวสาร การแสดงหรือชี้แจงข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. 2546 : 1182)
ดังนั้นสารสนเทศจึง หมายถึง ข่าวข้อเท็จจริง ข้อมูล ตลอดจน ความรู้ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ ทั้งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อสนเทศ ซึ่งได้บันทึกไว้นี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่นำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการ การวางแผน การศึกษาวิจัย การพัฒนาอาชีพ และอื่น ๆ ของบุคคลในทุกวงการและทุกระดับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศอย่างถูกต้องสมบูรณ์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และทันกับเวลาที่ต้องการด้วย
ความสำคัญและบทบาทของสารสนเทศ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน มนุษย์ทุกคนต้องอาศัยสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ การรู้สารสนเทศจะช่วยให้มีทักษะในการแก้ปัญหาเพราะรู้ว่าสารสนเทศที่ช่วยตอบคำถามที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผล (effectively and efficiently ) ผู้รู้สารสนเทศต้องเป็นคนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่จะใช้ห้องสมุดสมัยใหม่อันเป็นช่องทางสู่สารสนเทศ (gateway to information) ที่ต้องการ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และประเมินค่าสารสนเทศ (Analyze and evaluate the information) ที่ตนค้นหาได้ เพื่อที่จะช่วยการตัดสินใจและนำไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
ความสำคัญของสารสนเทศในสังคม เป็นความจำเป็นของคนในสังคมที่ต้องใช้ สารนิเทศ เพื่อพัฒนาตนเอง และใช้สารสนเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม สารสนเทศจึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของสังคม ให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีคำกล่าวที่ว่า “ความรู้คืออำนาจ” หรือ “สารสนเทศคืออำนาจ” (Information is power) ใครมีข้อมูลสารสนเทศมาก ผู้นั้นย่อมมีอำนาจมาก
1. บทบาทของสารสนเทศ
1.1 บทบาทต่อการพัฒนาประเทศ
สารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ถ้าประชาชน รู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ก็มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศทางอ้อม ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต่อการติดตามสารสนเทศอยู่เสมอประเทศที่เป็นตัวอย่างในสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
เป็นที่ยอมรับว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จทางเศรษฐกิจจนสามารถพัฒนาประเทศมาอยู่ในประเทศชั้นนำของโลกได้แก่ การเรียนรู้สารสนเทศจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศการผลิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ค้นหาวิธีวิจัยและพัฒนาต่อ จนผลิตเทคโนโลยีนั้นส่งกลับไปขายแข่งขันในประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดโลกได้ สารสนเทศที่มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศได้มาจากการสนับสนุนการจัดงบประมาณเพื่อการค้นคว้าและวิจัย ปรากฏว่า ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณสำหรับการค้นคว้าสารสนเทศด้านการวิจัยประมาณร้อยละ 9 ของงบการวิจัยทุกประเทศรวมกัน นับเป็นอันดับที่สามรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย
สำหรับประเทศไทยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของสารสนเทศ ได้จัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศแห่งชาติเพื่อรับผิดชอบในกำหนดกรอบนโนบายสารสนเทศภายในประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอยู่แล้วในขณะนี้
1.2 บทบาทด้านการค้า
การค้าจะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้าต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ หากมีการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้ามาก ยิ่งทำให้ผู้ต้องการสินค้าตัดสินใจในการดำเนินงานทางการค้าได้เร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันหากไม่มีข้อมูลทางการค้าเพียงพอก็อาจทำให้การค้าชะงักงันหรือเกิดความเสียหายได้
กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญของสารสนเทศว่ามีบทบาทต่อภาระหน้าที่ของกระทรวง จึงได้กระจายข้อมูลสารสนเทศทางการค้าอย่างสม่ำเสมอ ตั้งงบประมาณเพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลบริการพ่อค้า ตลอดจนเกษตรกรและถ่ายทอดข้อมูลของต่างประเทศจาก กรมพาณิชย์สัมพันธ์ให้กับผู้ที่ต้องการสารสนเทศดังกล่าว ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่จัดเก็บและให้บริการผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของจังหวัด เช่น ประชากร อาชีพ สภาพความเป็นอยู่ และข้อมูลในระดับการตัดสินใจ เช่น สินค้า พืช ที่สำคัญในท้องถิ่น ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการค้าในประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการมีส่วนผลักดันให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ONE TAMBON ONE PRODUCT) ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปตามชนบทในขณะนี้
บริษัทเอกชน ธนาคารทั่วไป และสถาบันการค้าต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้สารสนเทศ เพื่อตัดสินใจทางด้านการค้าทั้งสิ้น เพียงแต่สภาพการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศแตกต่างกันไปตามความจำเป็นของการใช้สารสนเทศ
1.3 บทบาทด้านการศึกษา
จากอดีตจนถึงปัจจุบันสังคมสารสนเทศล้วนแต่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา โดยประเทศได้รวบรวมสารสนเทศทุกชนิด เพื่อการศึกษาของคนในประเทศเป็นหลัก มีการสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์กลางการให้บริการสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการแปลหนังสือจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่ง เพื่อให้สารสนเทศแพร่หลายและเป็นการพัฒนาประเทศทางอ้อม สื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนแต่มีหน่วยงานทางการศึกษาที่รับผิดชอบในการผลิตสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการผลิตตำรา ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา หนังสือที่ผลิตได้แก่ หนังสือแบบเรียน คู่มือครู หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือส่งเสริมการอ่าน ส่วนหน่วยงานทางวิชาการของสถาบันการศึกษาก็ผลิตตำราเพื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น ตำราของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
สารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนมีบทบาทในการส่งเสริมระบบการศึกษาภายในประเทศ ทำให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่สำคัญ ด้านการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการจัดระบบข้อมูลการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการนำสารสนเทศไปใช้วางแผนและวินิจฉัยปัญหาและความต้องการด้านการศึกษาของแต่ละจังหวัด สารสนเทศจึงมีบทบาทต่อการพัฒนาการศึกษาภายในประเทศดังกล่าว
1.4 บทบาทด้านการเมืองการปกครอง
สารสนเทศ มีบทบาทต่อการส่งเสริมระบอบการเมืองภายในประเทศ ให้ความสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในระบบการปกครองของประชาชน ถ้าประชาชนในประเทศให้ความสนใจสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่าง ๆ การปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ถ้าประชาชนเข้าใจสภาพปัญหาของประเทศชาติจะทำให้เกิดการพัฒนาและการปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น
คณะรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้สื่อสารสนเทศกับประชาชน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับทราบสารสนเทศ เกี่ยวกับนโยบายการบริหารของรัฐ โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลของจังหวัดเพื่อเป็นคลังรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำไปวางแผนงานทางด้านการปกครอง ด้านการให้บริการของรัฐ ด้านการพัฒนาสังคม ด้านความมั่นคง และด้านอื่นๆ สารสนเทศดังกล่าว จึงมีบทบาทและประโยชน์ด้านการเมืองการปกครองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1.5 บทบาทด้านอุตสาหกรรม
ประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนใหญ่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเป็นหลักสารสนเทศจึงมีส่วนสำคัญ ผู้ประกอบการลงทุนจะต้องศึกษาสารสนเทศต่างๆ อย่างลึกซึ้งก่อนที่จะประกอบการอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องหาวิธีการและสนับสนุนให้นักธุรกิจได้รับรู้สารสนเทศเพื่อประกอบการอุตสาหกรรมหากมีการลงทุนมากขึ้น ย่อมมีความจำเป็นต้องเผยแพร่สารสนเทศนั้นๆ ให้มากขึ้นตามลำดับ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาสารสนเทศในระดับที่พร้อมที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสูงได้ และในประเทศไทยรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะส่งเสริมสินค้าส่งออกเป็นหลัก และขยายตลาดอุตสาหกรรมให้ใหญ่พอที่จะรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น โครงการหลักใหญ่ๆ ในการพัฒนาประเทศสู่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โครงการพัฒนาภาคใต้ และโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล้วนต้องรวบรวมสารสนเทศเพื่อมาใช้ประโยชน์กับโครงการต่างๆ ดังกล่าวอย่างเต็มที่
1.6 บทบาทด้านวัฒนธรรม
สารสนเทศที่มีอยู่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมากนี้ มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน สภาพของสารสนเทศในรูปแบบของหนังสือ วารสาร เอกสาร ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ มีการจัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศอยู่แล้ว สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์ของชาติทำให้คนในชาติได้ตระหนักในศักดิ์ศรีในความเป็นชาติตน ยังเป็นผลให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคง วัฒนธรรมมีส่วนช่วยในการพัฒนาจิตใจของประชาชนมีส่วนเกื้อกูลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนในสังคมและประเทศชาติมีความร่มเย็นเป็นสุข
เอกสารทางด้านวัฒนธรรมในแต่ละประเทศมีมากมาย ทั้งนี้เกิดจากการสะสมสารสนเทศมาอย่างสืบเนื่อง เป็นหน้าที่ของนักสารสนเทศรุ่นหลังจะต้องช่วยกันถ่ายทอดสารสนเทศทางวัฒนธรรมที่มีอยู่จำนวนมากให้มีการเผยแพร่เพื่อถ่ายทอดสิ่งดีงามทางวัฒนธรรม
สรุปได้ว่าสารสนเทศมีประโยชน์ ดังนี้
1. ลดอัตราการตายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
2. ช่วยให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคอย่างฉลาด
3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
4. ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ
5. ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และลดค่าใช้จ่ายจากการทำวิจัยซ้ำซ้อน
6. สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
7. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างองค์ความรู้
8. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ
พัฒนาการของสารสนเทศ
พัฒนาการของสารสนเทศตามวิวัฒนาการของสื่อสารนิเทศ เปรียบเทียบเหมือนกับคลื่นของสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ยุค คือ
คลื่นยุคที่ 1 ได้แก่ ยุควัติทางเกษตรกรรม (Agricultural Revolution)
ยุคแรกนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ ค.ศ.1750 ความเป็นอยู่ของคนในสังคมสารนิเทศแรกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ปฏิบัติตามประเพณีนิยม ที่เคยปฎิบัติกันมา ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากบุคคลในครอบครัวและในหมู่บ้านของตน ไม่มีโอกาสได้เห็นสังคมอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากสังคมที่ตนอาศัยอยู่ สารสนเทศจะอยู่ในรูปแบบ ของภาษาพูดและภาษาเขียน
คลื่นยุคที่ 2 ยุควัติทางอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
ยุคที่สองของสารสนเทศเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1750 ถึง ค.ศ.1950 เป็นยุคที่สารสนเทศประเภทหนังสือและวารสาร มีบทบาทสำคัญและสื่อสารสนเทศด้านสื่อมวลชนเข้ามามี บทบาทต่อสังคมสารสนเทศยุคนี้ การจัดทำหนังสือพิมพ์เพื่อสังคมได้รับข่าวสาร การพัฒนาสื่อสารสนเทศด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ สื่อสารสนเทศได้แพร่ กระจายเข้าไปในชุมชนผ่านอุปสรรคของการขวางกั้นจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ระยะทาง เวลา ภาษา ศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
คลื่นยุคที่ 3 ยุคเทคโนโลยีระดับสูง (High Technology Civilization)
ยุคนี้เป็นยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา เป็นสังคมข่าวสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เกิดสื่อสารสนเทศใหม่ ๆ จนทำให้สภาพของสังคมสารสนเทศเหมือนกันในทุกประเทศ ไม่มีปัญหาใด ๆ ต่อการที่จะรับทราบสารสนเทศซึ่งกันและกัน
ในสังคมสมัยโบราณ การเชิญพระราชสาส์นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ใช้เวลาในการเชิญพระราชสาส์นจากกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2229 จนกระทั่งไปถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2229 การเดินทาง ของสารสนเทศคือ พระราชสาส์นใช้เวลาเดินทางเกือบ 2 เดือนเต็ม กว่าที่พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ทอดพระเนตร
เมื่อระบบโทรคมนาคมเข้ามาเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ความเปลี่ยนแปลงต่อการรับ สารสนเทศจึงเปลี่ยนแปลงไป จากเวลาหลายเดือนในการส่งของสารสนเทศและต้องใช้คน เดินทางไปกับสารสนเทศ กลายเป็นใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงด้วยการส่งโทรเลขหรือโทรศัพท์โดย ไม่ต้องใช้คน และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงพัฒนาระบบโทรคมนาคม
การบันทึกสารสนเทศ
ยุคแรกเริ่มมีการบันทึก สารสนเทศด้วยตัวอักษร ประวัติของห้องสมุดควบคู่ไปกับประวัติของการเขียนหนังสือ พัฒนา การของการบันทึกสารสนเทศย้อนหลังไปกว่า 6,000 ปี มนุษย์ในสังคมสารสนเทศยุคแรกจดหรือบันทึกสารสนเทศบนกระดูก แผ่นดินเหนียว โลหะ ขี้ผึ้ง ไม้ กระดาษปาไปรัส ผ้า ไหม ขนสัตว์ หนังสัตว์ จนกระทั่งสารสนเทศได้พัฒนาในระยะหลังด้วยการบันทึกลงบน กระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก และแผ่นจานแม่เหล็กในปัจจุบัน
1. ห้องสมุดดินเหนียว (Libraries of Clay หรือ House of Clay Tablets) เป็นห้องสมุดยุคแรกที่เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรเมโสโปเตเมียโบราณเรือง อำนาจประมาณ 50-500 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองบาบิโลนและเมืองนิเนเวห์ (Babylon & Nineveh) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก ซีเรีย และตุรกี ประชาชนชาวสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมีย บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรตีส เป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์ตัวอักษร คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือ อักษรลิ่มขึ้น ได้ค้นพบวิธีการบันทึกสารสนเทศให้คงทนอยู่ได้นาน ด้วยการขีดเขียนอักษรโดยใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว (Clay tablets) ซึ่งเปียกอยู่แล้วนำไปทำให้แห้งหรือเผากลายเป็นสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของคนในชาติยุคนั้น รวบรวมจัดเก็บในห้องสมุดแผ่นดินเหนียว ห้องสมุดที่สำคัญได้แก่ ห้องสมุดเทลเลาะห์ (Telloh)
เรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่ ได้แก่ วรรณกรรม นิยาย กาพย์ต่างๆ และเรื่องราวทางศาสนา ชาวบาบิโลเนียน ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่างได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาว สุเมเรียน โดยนำอักษรรูปลิ่มไปบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้แก่ วรรณกรรม และเรื่องราวทางศาสนา รวมถึงได้สร้างห้องสมุดตามวัดและพระราชวัง ชาวบาบิโลเนียนได้คิดค้นประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มบนแท่นหินสีดำ จัดเป็นมรดกทางอารยธรรมที่มีค่ายิ่ง ชาวอัสสิเรียนเก็บรวบรวมแผ่นดินเหนียว บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ที่ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์ (Nineveh) และจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือดินเผาแต่ละแผ่นไว้ด้วย
2. ห้องสมุดปาไปรัส (Libraries of Papyrus) ในช่วงเวลาเดียวกับชาวสุเมเรียน ชาวบาบิโลเนียน และอัสสิเรียนรู้จักจารึกตัวอักษรบนแผ่นดินเหนียว ชาวอียิปต์ได้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรไฮโรกลิฟิค (Hieroglyphic) และบันทึกลงบนกระดาษปาไปรัส (Papyrus) เก็บรวบรวม บันทึก เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่ทำจากกระดาษปาไปรัส ซึ่งชาวอียิปต์ทำขึ้นโดยนำต้นปาไปรัส (คล้ายต้นอ้อ) ซึ่งมีมากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ นำมาลอกเอาเยื่อบาง ๆ ประกบกันหลาย ๆ ชั้น ทำเป็นแผ่นกระดาษขึ้น แผ่นกระดาษเหล่านี้เมื่อนำเอา ด้านข้างมาต่อกัน จะเป็นแผ่นที่ยาวออกในด้านข้าง บางฉบับยาวถึง 40 หลา ใช้หญ้ามาทุบปลายให้เป็นฝอยใช้แทนพู่กัน และต่อมาใช้ปล้องหญ้าตัดทำเป็นปากกา หมึกที่ใช้ทำด้วยถ่านไม้บดละเอียดผสมยางไม้ การใช้กระดาษปาไปรัสได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ชาวอียิปต์บันทึกไว้ในกระดาษปาไปรัส เมื่อจบการบันทึกก็จะม้วนแล้วมัดไว้เป็นม้วนๆ (Papyrus roll) ห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เรื่องราวที่บันทึกส่วนมากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา การปกครอง ตำรายา และ
รูปที่ 12 an ancient Egyptian papyrus roll
ภาพจาก http://spencer.lib.ku.edu/sc/คณิตศาสตร์ หนังสือม้วนที่ยาวที่สุดชื่อว่า Harris papyrus I มีความยาวถึง 133 ฟุตซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ
3. ห้องสมุดแผ่นหนัง (Libraries of Parchment)
การใช้แผ่นหนังเป็นวัสดุสำหรับการเขียน ได้รู้จักกันมานานราว 500 ปี ก่อนคริสตกาล พระเจ้าเปอร์กามัม (Pergamum) แห่งกรีกจึงทรงดำริคิดหาวิธีฟอกหนังให้เหมาะ แก่การเขียนและสามารถเขียนได้สองหน้าซึ่งเรียกว่า กระดาษหนัง (Parchment) โดยการนำแผ่นหนังมาวางซ้อนกันเย็บเป็นเล่มเรียกว่า โคเด็กซ์ (Codex) เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
4. ห้องสมุดยุคปัจจุบัน (Libraries of papers)
คริสตวรรษที่ 15 ชาวเยอรมันชื่อ กูเตนเบอร์ก (Gutenberg) ได้ ค้นพบวิธีการพิมพ์หนังสือ โดยคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ตัวอักษรที่ทำด้วยโลหะขึ้น การค้นพบ วิธีการพิมพ์นี้เองที่ทำให้วิทยาการและการศึกษาค้นคว้า ต่าง ๆ แพร่หลายไปทั่ว ลักษณะของ หนังสือก็เปลี่ยนไป หนังสือมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูก ใช้ได้สะดวก หนังสือแพร่หลาย ทำให้มีการผลิตหนังสือให้กับห้องสมุดประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้
มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เช่น มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด มหาวิทยาลัยปารีส ในเวลาต่อมาจึงเกิดห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้บริการแก่นักศึกษากิจการห้องสมุดได้รับการสนับสนุน มีห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น และเผยแพร่สู่ประชาชนมากขึ้น เกิดห้องสมุดประชาชน เริ่มมีการคิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบต่าง ๆเมื่อเข้าสู่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคสังคมข่าวสาร มนุษย์ทุกสาขาอาชีพใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดมีการจำแนกประเภทออกไปตามวัตถุประสงค์ และตามประเภทของสื่อที่จัดเก็บ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ซึ่งล้วนมีบทบาทต่อการศึกษาค้นคว้าของมนุษย์ปัจจุบันห้องสมุดจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลาย ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเชื่อมโยงสารสนเทศจากยุค จากทุกสาขาวิชา และสถานที่ต่าง ๆทั่วทุกมุมโลกเข้าหากัน สร้างความร่วมมือในการค้นคืนสารสนเทศ หรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาการสมัยใหม่มาจัดดำเนินการ และให้บริการแก่ผู้ใช้ การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการทำงาน และสืบค้นหาสารสนเทศ การนำสื่อสิ่งพิมพ์ไปปรับเปลี่ยนเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) การนำสื่อสิ่งพิมพ์ไปผ่านกระบวนการดิจิทัลในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) หรือการจัดให้บริการสารสนเทศโดยปราศจากสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ล้วนเป็นแนวโน้มการพัฒนาห้องสมุดในอนาคตที่ปราศจากสถานที่ และกฎเกณฑ์ของเวลามีลักษณะเสมือนเป็น “ห้องสมุดไร้พรมแดน” ที่นำศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาช่วยผู้ใช้ในการเข้าถึงแหล่ง สารสนเทศทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
พัฒนาการห้องสมุดในประเทศไทย
ห้องสมุดในประเทศไทย มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หอไตรหรือหอพระไตรปิฎก นับเป็นห้องสมุดประเภทแรกที่จัดตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยโดยจัดสร้างขึ้นในวัด เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา โดยจารหรือบันทึกลงบนใบลานแล้วเก็บรวบรวมไว้ในห่อผ้าที่ใช้ผูกมัด เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เรียกว่า หนังสือผูก สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังคงปรากฏหอไตรอยู่ตามวัดต่าง ๆ และมีการสร้างหอหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมกฎหมาย และเอกสารทางราชการ ต่อมาภายหลังถูกทำลายลงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสังคายนาพระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรด ฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก และหนังสือจำนวนมาก เมื่อ พ.ศ. 2326 ถือเป็นหอสมุดพุทธศาสนาของหลวงหลังแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และจารึกความรู้ในด้านต่าง ๆ ลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัด มีรูปเขียน และรูปสลักประกอบตำรานั้น ๆ และเปิดให้ประชาชนทุกชั้นวรรณะเข้าไปคัดลอกความรู้ได้โดยเสรี ดังนั้น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จึงถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย
ส่วนห้องสมุดสมัยใหม่เริ่มขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกันสร้าง “หอพระสมุดวชิรญาณ” เมื่อปี พ.ศ. 2424 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลที่ 5 ยังทรงโปรด ให้สร้าง “หอพุทธสาสนสังคหะ” เมื่อปี พ.ศ. 2443 เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บหนังสือและพระไตรปิฎก
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง โปรดเกล้า ฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพุทธสาสนสังคหะ และหอสมุดวชิรญาณเข้าด้วยกันแล้วได้พระราชทานนามว่า “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังและในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายออกมาอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุข้างนอกพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนค้นคว้าได้สะดวก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” หลังจากนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หอสมุดแห่งชาติได้ย้ายมาอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
องค์การ และหน่วยงานต่าง ๆ จัดตั้งห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเป็นผลให้เกิดห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ห้องสมุดสยามสมาคม ห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งต่อมาเป็นหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. 2549 เริ่มมีการเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ที่ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิฟุลไบรท์ เมื่อพ.ศ. 2494 หลังจากนั้นวิทยาการบรรณารักษศาสตร์ ได้ขยายการเรียนการสอนไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลให้มีการพัฒนาระบบการบริหารงานสอนห้องสมุดตามแบบสากล เกิดห้องสมุดของสถาบันต่าง ๆ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้นำในการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บ และค้นคืนสารสนเทศ ทำให้ห้องสมุดมีศักยภาพในการให้บริการมากขึ้น สามารถสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้ใช้ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบเครือข่ายในระดับห้องสมุดเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดในปัจจุบัน
ด้วยปริมาณของสารสนเทศที่เพิ่มพูนอย่างมหาศาล และสื่อที่บันทึกสารสนเทศมีหลากหลายประเภทมากขึ้น ห้องสมุดจึงนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานสำคัญ ๆ ของห้องสมุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและเรียกใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ห้องสมุดปัจจุบันจึงมีลักษณะดังนี้
1. ห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Libraries)
2. ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Libraries)
3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Libraries)
4. ห้องสมุดเสมือน (Virtual Libraries)
กล่าวคือ มีการเก็บข้อมูลสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ในระบบฐานข้อมูลที่จัดการโดยระบบคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลได้ รวมทั้งมีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยการเข้าใช้ผ่านเทอร์มินอลในห้องสมุด หรือเข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุดจากสถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้เอกสารที่นำเสนอในห้องสมุด บางส่วนอยู่ในรูปของเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ สามารถสืบค้นได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งหรือรับสารสนเทศ
ได้ด้วยสัญญาณดิจิทัลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาสู่สังคมโลก ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศภายในห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และทั่วโลกเป็นไปได้โดยสะดวก และกว้างขวางยิ่งขึ้นกอร์ปกับมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์ ทำให้มีการสร้างเว็บทั้งของห้องสมุด ของหน่วยงานองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน และแม้แต่ส่วนบุคคล นำเสนอสารสนเทศจนประมาณมิได้ การเข้าถึงสารสนเทศ จึงไร้พรมแดนไม่มีอาณาเขตอีกต่อไป
ดังนั้น การที่จะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากไม่เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ เครื่องมือที่ช่วยในการค้นคว้า และวิธีการศึกษาค้นคว้าที่ถูกต้อง ก็จะไม่ได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ไม่สามารถส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าที่ดีได้
องค์ประกอบการรู้สารสนเทศ
ผู้รู้สารสนเทศ (Information literate person) หมายถึง บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร (People who have learned how to learn)
สมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกา ได้กำหนด องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการ ดังนี้ คือ
ความสามารถในการตระหนักว่า เมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ เข้าใจถึง ความสำคัญ
ของสารสนเทศว่า ใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และช่วยในการทำงานหรือการเรียนได้ดีขึ้น ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ และรู้ว่าจะได้สารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ใด
และจะค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ คือ การคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
ที่ได้มา ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ของตนเองได้ ตลอดจนการเข้าถึง และการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกฎหมาย
สมาคมบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยออสเตรเลียได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับบุคคลทั่วไป (Information Literacy Standards for Person) ไว้ 7 มาตรฐาน เช่น
1. ผู้รู้สารสนเทศรู้ถึงความต้องการสารสนเทศและกำหนดขอบเขตของความต้องการสารสนเทศได้
2. ผู้รู้สารสนเทศสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
3. ผู้รู้สารสนเทศสามารถประเมินคุณค่าสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและบูรณาการสารสนเทศที่เลือกสรรแล้วเข้ากับความรู้เดิม
4. ผู้รู้สารสนเทศสามารถจัดหมวดหมู่ เก็บรวบรวมถ่ายโอนและร่างสารสนเทศที่รวบรวมได้
5. ผู้รู้สารสนเทศควรขยายหรือตีกรอบ หรือวางโครงร่าง หรือสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ โดยบูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เป็นของตนได้
6. ผู้รู้สารสนเทศมีความเข้าใจบริบทวัฒนธรรม เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมเกี่ยวเนื่องกับการใช้ การเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม ชอบด้วยกฎหมาย
7. ผู้รู้สารสนเทศควรตระหนักถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการมีส่วนร่วมของพลเมือง
การเลือกใช้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศ
เมื่อมีความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้น ผู้ใช้สามารถเลือกใช้แหล่งสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ โดยมีหลักในการพิจารณา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. 2547 : 25-26) ดังนี้
1. มีความสะดวกในการเข้าใช้ เช่น อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งสารสนเทศที่เข้าใช้ได้สะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพียงแต่ผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ส่วนห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสะดวกในการเข้าใช้ จัดตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางและเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด 2. มีความน่าเชื่อถือ ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งบุคคลและอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีวิธีการคัดเลือก จัดหา จัดเก็บ ทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และมุ่งเน้นให้บริการสารสนเทศ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ ประหยัดเวลาในการค้นหาสารสนเทศ ขณะที่อินเทอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศในอินเทอร์เน็ต ไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของทำหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหา แหล่งสารสนเทศบุคคล ควรคำนึงถึงผู้ที่มีชื่อเสียง คุณวุฒิ หรือประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 3. มีความสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการความรู้ เฉพาะสาขาวิชาควรเลือกใช้ ห้องสมุดคณะ ห้องสมุดเฉพาะ หรือศูนย์สารสนเทศ หรือถ้าต้องการความรู้หลากหลายสาขาวิชา ควรเลือกใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาอ่านได้ จากทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ อาจต้องใช้แหล่งบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น 4. ความทันสมัยของเนื้อหาที่นำเสนอ สื่อมวลชน เป็นแหล่งที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น ข้อมูลข่าวสาร ที่เผยแพร่จึงล้าสมัยเร็ว เช่น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ตลาดหุ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณา วัน เดือน ปี ของการผลิต หรือเผยแพร่ข้อมูลของแหล่งสื่อมวลชนด้วย
ความต้องการสารสนเทศ
บุคคลเมื่ออยู่ในสถานการณ์ ที่ต้องใช้การตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ของปัญหา หรือข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหา หรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเอง ยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นๆ เพียงพอ ซึ่ง อาจมีทั้ง ความต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที และความต้องการเก็บรวบรวมสารสนเทศ ไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้ สามารถกำหนดถึงความต้องการ ที่แท้จริงได้ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์. 2547 : 6-9) คือ
1. วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ โดยกำหนดเป็นหัวข้อ (Topic) ความต้องการสารสนเทศ ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น เพื่อการทำงาน เพื่อการเรียน เพื่อการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น 2. การพิจารณาลักษณะของสารสนเทศ กำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ เมื่อกำหนดหัวข้อ และประเด็นแนวคิดของสารสนเทศ ที่ต้องการได้แล้ว ต่อไป คือ การกำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการในแต่ละแนวคิด คุณลักษณะของสารสนเทศมี 7 ประเด็น คือ 2.1 เนื้อหาของสารสนเทศ (content) หมายถึง เนื้อเรื่องของสารสนเทศ อาจเป็นความรู้กว้างๆ หรือ เฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง 2.2 ชนิดของสารสนเทศ (nature) สารสนเทศที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกัน อาจมีชนิดแตกต่างกัน เช่น ทฤษฎี สูตรคณิตศาสตร์ คำอธิบาย ตาราง แผนภูมิ หรือหลายประเภทรวมกัน เป็นต้น 2.3 ปริมาณของสารสนเทศ ( quantity) ที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต้องการและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน 2.4 รูปแบบของสารสนเทศ (packaging) คือลักษณะภายนอกของสารสนเทศ เช่น หนังสือ ฐานข้อมูล บทความวารสาร บทคัดย่อ รายงานการประชุม รายงานการวิจัย เป็นต้น 2.5 ความทันสมัยหรือช่วงระยะเวลาของสารสนเทศ (data range) หรืออายุของสารสนเทศที่ต้องการ อยู่ในช่วงเวลาใด สารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน หรือ สารสนเทศเชิงประวิติศาสตร์ ช่วงเวลาของสารสนเทศมีหลายระดับ ได้แก่ ใหม่มาก หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา ทันสมัย หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา เก่าย้อนหลัง หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุเกิน 1 ปี 2.6 คุณภาพของสารสนเทศ (quality) คุณภาพของสารสนเทศเป็นความรู้สึกของผู้ใช้ว่า ถูกต้อง น่าเชื่อถือ โดยสามารถพิจารณาจากความเชี่ยวชาญของผู้เขียน ความมีชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำสารสนเทศต่างๆ 2.7 ภาษาของสารสนเทศ (language) ปกติผู้ใช้ต้องการใช้สารสนเทศในภาษาของตน ที่สามารถเข้าใจง่าย เหมาะกับการใช้งาน การใช้สารสนเทศภาษาอื่น ถ้าขาดทักษะในภาษานั้นๆ จะทำให้ไม่สามารถรับสารสนเทศได้อย่างสมบูรณ์ 3. การวางแผนค้นหาสารสนเทศ เมื่อผู้ใช้ตระหนัก และเห็นความต้องการสารสนเทศของตนแล้ว จะสามารถกำหนดความต้องการ และค้นหาสารสนเทศได้ โดยกำหนดขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศ ดังนี้ 3.1 กำหนดหัวข้อตามความต้องการและแยกออกเป็นประเด็นแนวคิดหรือคำถามย่อยๆ 3.2 ระดมความคิดว่าประเด็นแนวคิดที่ต้องการสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือมีสิ่งแวดล้อมใดที่มีความสัมพันธ์กัน โดยนำแนวคิด ความรู้ความเข้าใจที่สรุปได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ นำมาเชื่อมโยงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลักและแนวคิดย่อยๆ 3.3 กำหนดประเด็นแนวคิด คำสำคัญ หัวเรื่อง กำหนดทรัพยากรสารสนเทศหรือแหล่งสารสนเทศใดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ครอบคลุมและเฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการ 3.4 กำหนดเงื่อนไขการประเมินเพื่อเลือกทรัพยากรและแหล่งสารสนเทศให้เหมาะสม เช่น ระยะเวลาของเรื่อง ประเภทและรูปแบบการนำเสนอ เป็นต้น
คุณค่าของสารสนเทศ
สารสนเทศที่หามาได้นั้นจะมีคุณค่าต่อการใช้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ คือ
1. เวลา (time) สารสนเทศที่ได้รับ ต้องทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ทันต่อความต้องการในการใช้
2. ความถูกต้อง (accuracy) สารสนเทศ ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่มีการแต่งเติม จนมีผลต่อความรู้สึก ความเข้าใจของผู้ใช้ ความชัดเจน ปราศจากความคลุมเครือ ไม่ต้องอาศัยการตีความเพิ่มเติม และสามารถพิสูจน์ได้
3. ความครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ครบถ้วน จะต้องไม่ขาดหาย และไม่ถูกบิดเบือนจากความจริง มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการในการใช้
4. ความต่อเนื่อง (continuation) มีลักษณะการสะสมของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประสานเป็นเนื้อหาเดียวกัน
นอกจากนี้ ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ์ และคณะ. (2537 : 6) ได้กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญในการวัดค่าสารสนเทศไว้ดังนี้
1. สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility) หมายถึง ความสะดวกในการเข้าถึง
2. ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึงความสมบูรณ์ในเนื้อหาของสารสนเทศ โดยพิจารณาทางด้านคุณภาพของสารสนเทศมากกว่าด้านปริมาณ
3. ความถูกต้องเที่ยงตรง (Accurancy) หมายถึง สารสนเทศที่ได้รับต้องไม่มีข้อผิดพลาด เช่น ข้อผิดพลาดด้านการคัดลอก การบันทึกข้อมูล การคำนวณ เป็นต้น
4. ความเหมาะสม (Appropriateness) หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้รับตรงตามความต้องการของผู้ใช้
5. ความทันเวลา (Timeline) หมายถึง สารสนเทศนั้นต้องใช้ระยะเวลาอันสั้นและมีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อให้ผู้ใช้สารสนเทศได้รับทันเวลา
6. ความชัดเจน (Clarity) หมายถึง สารสนเทศที่ได้รับ ต้องมีความชัดเจน ไม่กำกวม
7. ความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง สารสนเทศที่ดีนั้นจะต้องให้ประโยชน์แก่บุคคลจำนวนมากอย่างกว้างขวาง
8. ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) หมายถึง สารสนเทศนั้น ต้องสมารถพิสูจน์หรือตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริง
9. ความซ้ำซ้อน (Redundancy) หมายความว่า สารสนเทศนั้นมีความซ้ำซ้อนหรือมีมากเกินความจำเป็นหรือไม่
สรุปสาระสำคัญ
การเข้าถึงสารสนเทศ และสามารถใช้สารสนเทศประกอบการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย จึงจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่จัดเป็นทรัพยากรบุคคลตามความคาดหวังของประเทศ การศึกษาวิชา ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ 3000-1601 จึงทำให้เกิดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้
- ความสำคัญของสารสนเทศ
- ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ
- สิ่งที่ใช้บันทึกสารสนเทศ
- แหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด หน่วยงานบริการสารสนเทศ ฐานข้อมูล เว็บไซต์ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องมือช่วยการเข้าถึงสารสนเทศทั้งในระบบดั้งเดิม และระบบอัตโนมัติ
- การให้บริการของห้องสมุด และหน่วยงานบริการสารสนเทศ
- การใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการทำรายงาน เช่น รายงานประจำวิชา ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และงานวิจัย ทั้งนี้การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของบุคคล ผู้ที่ตั้งใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์ และร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้เท่านั้นที่จะประสพความสำเร็จในชีวิต
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 2
ตอนที่ 1 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. คำว่า "สารสนเทศ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ ว่าอะไร
ก. Informatic ข. Information ค. Information age ง. Information Society
2. สารสนเทศ มีความหมายว่าอย่างไร
ก. ความรู้ที่ได้รับทราบจากการบอกเล่าของผู้อื่นต่อๆ กันมา
ข. ทรัพยากรสารสนเทศ สถานที่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค. ข่าวสารใหม่ๆ ที่เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปขณะนั้น
ง. ความรู้ เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการบันทึกเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์
3. สารสนเทศ กลายสภาพมาจากอะไร
ก. การประมวลผล ข. ข้อมูล ค. สารนิเทศ ง. การจัดหาข้อมูล
4. ข้อใดคือลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ก. ต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่เสมอ
ข. ต้องได้รับอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ครบถ้วน
ค. ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันต่อความต้องการ
ง.ต้องได้รับอย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ถึงจะเลยเวลาที่จำเป็นต้องใช้ก็ตาม
5. ยูเนสโก กำหนดว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก คือข้อใด
ก. ทุน มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ข. ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการมนุษย์
ค. ทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์ สารสนเทศ ง. สารสนเทศ การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ
6. จำนวนคนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสารสนเทศ มีมากกว่าจำนวนผู้ใช้แรงงาน แสดงว่า
ก. ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ข. คนถูกปลดออกจากงานมาก
ค. เป็นสังคมเกษตรกรรม ง. เป็นสังคมสารสนเทศ
7. วันนี้...นักศึกษาต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง กรณีการดำเนินคดียุบพรรคการเมือง แหล่งสารสนเทศ สื่อที่นักศึกษาควรนึกถึงเป็นอันดับแรกที่ทันเหตุการณ์ที่สุด คือ
ก. หนังสือ ข. หนังสือพิมพ์ ค. อินเทอร์เน็ต ง. บทความวารสาร
8. สารสนเทศสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านใดบ้าง
ก. การทำงาน ข. การเรียน ค. การดำเนินชีวิตประจำวัน ง. ถูกทุกข้อ
9. สถานการณ์ใดที่นักศึกษาไม่ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
ก. นักศึกษาเลือกฝากเงินกับธนาคาร ที่ให้ดอกเบี้ยสูง
ข. เข้าห้องสมุด เพื่อค้นคว้า ข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน
ค. นักศึกษาอ่านหนังสือนอกเหนือจากที่อาจารย์สอนในห้องเรียนทำให้ได้เกรด A
ง. นักศึกษาปวดศีรษะ จึงกินยาแอสไพริน โดยไม่ทราบว่าอาจมีผลทำให้เป็นโรคกระเพาะ
10. ข้อใดไม่ใช่การเรียนในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน
ก. การเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ข. การเรียนผ่านระบบเครือข่าย
ค. การเรียนที่ไม่ต้องพึ่งพาอาจารย์ผู้สอน
ง. การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
11. ผู้รู้สารสนเทศ หมายถึงอะไร
ก. บุคคลที่ทราบคำตอบของปัญหา
ข. บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร
ค. บุคคลที่กำลังเรียนในสาขาของที่ตนเองชอบ
ง. บุคคลที่รู้ความหมายของสารสนเทศ
12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. ผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ
ข. ผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ค. ผู้ที่สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ง. ผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการเล่นเกม
13. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ข. ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ค. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ง. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
14. ข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
ก. ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม
ข. ตระหนักถึงประโยชน์ของสารสนเทศ
ค. สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ตระหนักว่าสารสนเทศที่สืบค้นได้มีความครบถ้วนสมบูรณ์
15. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง 1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ 2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ 3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ 5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ก. 1-2-3-4-5 ข. 2-4-5-3-1 ค. 5-4-1-2-3 ง. 4-3-5-1-2
16. ข้อใดคือประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ
ก. เป็นที่เก็บหนังสือที่มีคุณค่า
ข. เป็นที่รวมของบุคลากรที่มีความชำนาญ
ค. ช่วยให้นักศึกษามีแหล่งพักผ่อนยามว่าง
ง. สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพ
17. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของยุคสารสนเทศ
ก. ประชาชน องค์กร ใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
ข. สารสนเทศเข้าถึงได้ยากโดยเฉพาะสารสนเทศที่ไม่มีในประเทศ
ค. ประชาชนนิยมการให้บริการออนไลน์
ง. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการสารสนเทศ
18. องค์ความรู้หมายถึงอะไร
ก. ผลผลิตที่ตลาดต้องการ
ข. ข้อมูลสถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ค. สารสนเทศที่ได้รับการนำเสนออย่างเป็นระบบ
ง. ทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
19. จากคำกล่าวที่ว่า สารสนเทศคืออำนาจ (Information is Power) มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. กลุ่มประเทศที่มีการวางแผนโครงข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันหลายประเทศทั่วโลก
อย่างครอบคลุม
ข. ผู้ที่เข้าถึงสารสนเทศก่อนผู้อื่นย่อมมีโอกาสเป็นผู้นำในการดำเนินการและแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ค. ผู้ที่มีเทคโนโลยีอยู่ในครอบครองย่อมเป็นผู้นำด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ
ง. คือ เทคโนโลยีทางด่วนข้อมูล
20. ข้อใดคือแหล่งสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทย
ก. หอไตร ข. หอสมุดวชิรญาณ
ค. หอสมุดแห่งชาติ ง. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ตอนที่ 2
1. จงอธิบายความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับยุคสารสนเทศ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. จงอธิบายถึงความสำคัญของสารสนเทศต่อบทบาทของนักศึกษา
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
3. เหตุใดการบันทึกสารสนเทศจึงมีความสำคัญ..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. จงลำดับพัฒนาการของห้องสมุดในโลก และในประเทศไทย
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
5. เมื่อท่านได้ศึกษาความหมายของสารสนเทศจากเอกสารแล้ว จงสรุปความหมายของสารสนเทศมาตามความเข้าใจ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
6. จงอธิบายความสำคัญของสารสนเทศต่อการดำรงชีวิตมาอย่างอย่างสั้น ๆ พอเข้าใจ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
7. ท่านเป็นนักศึกษาด้านอาชีวศึกษาซึ่งต้องออกไปประกอบอาชีพในสังคมในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านคิดว่าสารสนเทศมีบทบาทต่อการประกอบอาชีพของท่านอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกากับมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลีย
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
9. จงอธิบายกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศตามความต้องการของตน ว่ามีหลักการและวิธีการอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
10. ให้สืบค้นข้อมูลมูลจากคำต่อไปนี้พร้อมให้รายละเอียดสั้น ๆ พอเข้าใจ
อักษรลิ่ม ห้องสมุดปาไปรัส ห้องสมุดแผ่นหนัง หอไตร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
ในศตวรรษที่ 21 ถือว่าเป็นยุคสารสนเทศ (Information age) เพราะสารสนเทศมีมากมหาศาล หลากหลายรูปแบบ บุคคลต้องเผชิญกับสารสนเทศ ซึ่งสามารถพบได้ทุกที่ ด้วยวิธีการ ที่แตกต่างกัน การรู้สารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สารสนเทศ โดยเป็นกระบวนการ ทางปัญญา เพื่อสร้างความเข้าใจ ในความต้องการสารสนเทศ การค้นหาการประเมิน การใช้สารสนเทศ และการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ และการรู้สารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ
ความหมายของสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นนามธรรม รูปธรรมมีความหมายที่บ่งบอกได้ในตัวเอง มีคุณค่าควรแก่นำไปดำเนินการให้สื่อความหมายได้
ข่าวสาร หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์ หรือข้อมูลที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่ และต้องการจะเผยแพร่ต่อไป
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่รวบรวม เรียบเรียงหรือดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ ระหว่างผู้สื่อ และผู้รับ สามารถนำไปใช้ได้ตามที่ต้องการ
สมาคมห้องสมุดอเมริกันให้คำจำกัดความของคำว่า Information ว่าหมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง และผลงานที่เกิดขึ้นจากจิตใจทั้งหมด ซึ่งมีวิธีการติดต่อสื่อสาร มีการจดบันทึกรวบรวม มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือมีวิธีการแจกจ่ายทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในทุกรูปแบบ (Young. 1983 : 117)
พาล์มเมอร์ (Palmer. 1987 : 6) ให้ความหมายที่สั้นกะทัดรัดว่า Information คือ ข้อมูลซึ่งใช้ในการตัดสินใจ
สารสนเทศ คือ ทักษะที่จะค้นหา การค้นคืน การวิเคราะห์ และการใช้สารสนเทศ (Knauer, Kelly : 2003)
สนเทศ น. คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. 2546 : 1119)
สารสนเทศ น. ข่าวสาร การแสดงหรือชี้แจงข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. 2546 : 1182)
ดังนั้นสารสนเทศจึง หมายถึง ข่าวข้อเท็จจริง ข้อมูล ตลอดจน ความรู้ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ ทั้งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อสนเทศ ซึ่งได้บันทึกไว้นี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่นำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการ การวางแผน การศึกษาวิจัย การพัฒนาอาชีพ และอื่น ๆ ของบุคคลในทุกวงการและทุกระดับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศอย่างถูกต้องสมบูรณ์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และทันกับเวลาที่ต้องการด้วย
ความสำคัญและบทบาทของสารสนเทศ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน มนุษย์ทุกคนต้องอาศัยสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ การรู้สารสนเทศจะช่วยให้มีทักษะในการแก้ปัญหาเพราะรู้ว่าสารสนเทศที่ช่วยตอบคำถามที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผล (effectively and efficiently ) ผู้รู้สารสนเทศต้องเป็นคนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่จะใช้ห้องสมุดสมัยใหม่อันเป็นช่องทางสู่สารสนเทศ (gateway to information) ที่ต้องการ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และประเมินค่าสารสนเทศ (Analyze and evaluate the information) ที่ตนค้นหาได้ เพื่อที่จะช่วยการตัดสินใจและนำไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
ความสำคัญของสารสนเทศในสังคม เป็นความจำเป็นของคนในสังคมที่ต้องใช้ สารนิเทศ เพื่อพัฒนาตนเอง และใช้สารสนเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม สารสนเทศจึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของสังคม ให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีคำกล่าวที่ว่า “ความรู้คืออำนาจ” หรือ “สารสนเทศคืออำนาจ” (Information is power) ใครมีข้อมูลสารสนเทศมาก ผู้นั้นย่อมมีอำนาจมาก
1. บทบาทของสารสนเทศ
1.1 บทบาทต่อการพัฒนาประเทศ
สารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ถ้าประชาชน รู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ก็มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศทางอ้อม ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต่อการติดตามสารสนเทศอยู่เสมอประเทศที่เป็นตัวอย่างในสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น
เป็นที่ยอมรับว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จทางเศรษฐกิจจนสามารถพัฒนาประเทศมาอยู่ในประเทศชั้นนำของโลกได้แก่ การเรียนรู้สารสนเทศจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศการผลิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ค้นหาวิธีวิจัยและพัฒนาต่อ จนผลิตเทคโนโลยีนั้นส่งกลับไปขายแข่งขันในประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดโลกได้ สารสนเทศที่มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศได้มาจากการสนับสนุนการจัดงบประมาณเพื่อการค้นคว้าและวิจัย ปรากฏว่า ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณสำหรับการค้นคว้าสารสนเทศด้านการวิจัยประมาณร้อยละ 9 ของงบการวิจัยทุกประเทศรวมกัน นับเป็นอันดับที่สามรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย
สำหรับประเทศไทยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของสารสนเทศ ได้จัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศแห่งชาติเพื่อรับผิดชอบในกำหนดกรอบนโนบายสารสนเทศภายในประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอยู่แล้วในขณะนี้
1.2 บทบาทด้านการค้า
การค้าจะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้าต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ หากมีการเผยแพร่สารสนเทศทางการค้ามาก ยิ่งทำให้ผู้ต้องการสินค้าตัดสินใจในการดำเนินงานทางการค้าได้เร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันหากไม่มีข้อมูลทางการค้าเพียงพอก็อาจทำให้การค้าชะงักงันหรือเกิดความเสียหายได้
กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญของสารสนเทศว่ามีบทบาทต่อภาระหน้าที่ของกระทรวง จึงได้กระจายข้อมูลสารสนเทศทางการค้าอย่างสม่ำเสมอ ตั้งงบประมาณเพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลบริการพ่อค้า ตลอดจนเกษตรกรและถ่ายทอดข้อมูลของต่างประเทศจาก กรมพาณิชย์สัมพันธ์ให้กับผู้ที่ต้องการสารสนเทศดังกล่าว ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่จัดเก็บและให้บริการผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของจังหวัด เช่น ประชากร อาชีพ สภาพความเป็นอยู่ และข้อมูลในระดับการตัดสินใจ เช่น สินค้า พืช ที่สำคัญในท้องถิ่น ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการค้าในประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการมีส่วนผลักดันให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ONE TAMBON ONE PRODUCT) ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปตามชนบทในขณะนี้
บริษัทเอกชน ธนาคารทั่วไป และสถาบันการค้าต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้สารสนเทศ เพื่อตัดสินใจทางด้านการค้าทั้งสิ้น เพียงแต่สภาพการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศแตกต่างกันไปตามความจำเป็นของการใช้สารสนเทศ
1.3 บทบาทด้านการศึกษา
จากอดีตจนถึงปัจจุบันสังคมสารสนเทศล้วนแต่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา โดยประเทศได้รวบรวมสารสนเทศทุกชนิด เพื่อการศึกษาของคนในประเทศเป็นหลัก มีการสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์กลางการให้บริการสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการแปลหนังสือจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่ง เพื่อให้สารสนเทศแพร่หลายและเป็นการพัฒนาประเทศทางอ้อม สื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนแต่มีหน่วยงานทางการศึกษาที่รับผิดชอบในการผลิตสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการผลิตตำรา ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา หนังสือที่ผลิตได้แก่ หนังสือแบบเรียน คู่มือครู หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือส่งเสริมการอ่าน ส่วนหน่วยงานทางวิชาการของสถาบันการศึกษาก็ผลิตตำราเพื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น ตำราของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
สารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนมีบทบาทในการส่งเสริมระบบการศึกษาภายในประเทศ ทำให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่สำคัญ ด้านการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการจัดระบบข้อมูลการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการนำสารสนเทศไปใช้วางแผนและวินิจฉัยปัญหาและความต้องการด้านการศึกษาของแต่ละจังหวัด สารสนเทศจึงมีบทบาทต่อการพัฒนาการศึกษาภายในประเทศดังกล่าว
1.4 บทบาทด้านการเมืองการปกครอง
สารสนเทศ มีบทบาทต่อการส่งเสริมระบอบการเมืองภายในประเทศ ให้ความสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในระบบการปกครองของประชาชน ถ้าประชาชนในประเทศให้ความสนใจสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่าง ๆ การปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ถ้าประชาชนเข้าใจสภาพปัญหาของประเทศชาติจะทำให้เกิดการพัฒนาและการปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น
คณะรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้สื่อสารสนเทศกับประชาชน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับทราบสารสนเทศ เกี่ยวกับนโยบายการบริหารของรัฐ โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลของจังหวัดเพื่อเป็นคลังรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำไปวางแผนงานทางด้านการปกครอง ด้านการให้บริการของรัฐ ด้านการพัฒนาสังคม ด้านความมั่นคง และด้านอื่นๆ สารสนเทศดังกล่าว จึงมีบทบาทและประโยชน์ด้านการเมืองการปกครองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1.5 บทบาทด้านอุตสาหกรรม
ประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนใหญ่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเป็นหลักสารสนเทศจึงมีส่วนสำคัญ ผู้ประกอบการลงทุนจะต้องศึกษาสารสนเทศต่างๆ อย่างลึกซึ้งก่อนที่จะประกอบการอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องหาวิธีการและสนับสนุนให้นักธุรกิจได้รับรู้สารสนเทศเพื่อประกอบการอุตสาหกรรมหากมีการลงทุนมากขึ้น ย่อมมีความจำเป็นต้องเผยแพร่สารสนเทศนั้นๆ ให้มากขึ้นตามลำดับ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาสารสนเทศในระดับที่พร้อมที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสูงได้ และในประเทศไทยรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะส่งเสริมสินค้าส่งออกเป็นหลัก และขยายตลาดอุตสาหกรรมให้ใหญ่พอที่จะรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น โครงการหลักใหญ่ๆ ในการพัฒนาประเทศสู่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โครงการพัฒนาภาคใต้ และโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล้วนต้องรวบรวมสารสนเทศเพื่อมาใช้ประโยชน์กับโครงการต่างๆ ดังกล่าวอย่างเต็มที่
1.6 บทบาทด้านวัฒนธรรม
สารสนเทศที่มีอยู่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมากนี้ มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน สภาพของสารสนเทศในรูปแบบของหนังสือ วารสาร เอกสาร ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ มีการจัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศอยู่แล้ว สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์ของชาติทำให้คนในชาติได้ตระหนักในศักดิ์ศรีในความเป็นชาติตน ยังเป็นผลให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคง วัฒนธรรมมีส่วนช่วยในการพัฒนาจิตใจของประชาชนมีส่วนเกื้อกูลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนในสังคมและประเทศชาติมีความร่มเย็นเป็นสุข
เอกสารทางด้านวัฒนธรรมในแต่ละประเทศมีมากมาย ทั้งนี้เกิดจากการสะสมสารสนเทศมาอย่างสืบเนื่อง เป็นหน้าที่ของนักสารสนเทศรุ่นหลังจะต้องช่วยกันถ่ายทอดสารสนเทศทางวัฒนธรรมที่มีอยู่จำนวนมากให้มีการเผยแพร่เพื่อถ่ายทอดสิ่งดีงามทางวัฒนธรรม
สรุปได้ว่าสารสนเทศมีประโยชน์ ดังนี้
1. ลดอัตราการตายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
2. ช่วยให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคอย่างฉลาด
3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
4. ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ
5. ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และลดค่าใช้จ่ายจากการทำวิจัยซ้ำซ้อน
6. สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
7. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างองค์ความรู้
8. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ
พัฒนาการของสารสนเทศ
พัฒนาการของสารสนเทศตามวิวัฒนาการของสื่อสารนิเทศ เปรียบเทียบเหมือนกับคลื่นของสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ยุค คือ
คลื่นยุคที่ 1 ได้แก่ ยุควัติทางเกษตรกรรม (Agricultural Revolution)
ยุคแรกนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ ค.ศ.1750 ความเป็นอยู่ของคนในสังคมสารนิเทศแรกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ปฏิบัติตามประเพณีนิยม ที่เคยปฎิบัติกันมา ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากบุคคลในครอบครัวและในหมู่บ้านของตน ไม่มีโอกาสได้เห็นสังคมอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากสังคมที่ตนอาศัยอยู่ สารสนเทศจะอยู่ในรูปแบบ ของภาษาพูดและภาษาเขียน
คลื่นยุคที่ 2 ยุควัติทางอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
ยุคที่สองของสารสนเทศเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1750 ถึง ค.ศ.1950 เป็นยุคที่สารสนเทศประเภทหนังสือและวารสาร มีบทบาทสำคัญและสื่อสารสนเทศด้านสื่อมวลชนเข้ามามี บทบาทต่อสังคมสารสนเทศยุคนี้ การจัดทำหนังสือพิมพ์เพื่อสังคมได้รับข่าวสาร การพัฒนาสื่อสารสนเทศด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ สื่อสารสนเทศได้แพร่ กระจายเข้าไปในชุมชนผ่านอุปสรรคของการขวางกั้นจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ระยะทาง เวลา ภาษา ศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
คลื่นยุคที่ 3 ยุคเทคโนโลยีระดับสูง (High Technology Civilization)
ยุคนี้เป็นยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา เป็นสังคมข่าวสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เกิดสื่อสารสนเทศใหม่ ๆ จนทำให้สภาพของสังคมสารสนเทศเหมือนกันในทุกประเทศ ไม่มีปัญหาใด ๆ ต่อการที่จะรับทราบสารสนเทศซึ่งกันและกัน
ในสังคมสมัยโบราณ การเชิญพระราชสาส์นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ใช้เวลาในการเชิญพระราชสาส์นจากกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2229 จนกระทั่งไปถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2229 การเดินทาง ของสารสนเทศคือ พระราชสาส์นใช้เวลาเดินทางเกือบ 2 เดือนเต็ม กว่าที่พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ทอดพระเนตร
เมื่อระบบโทรคมนาคมเข้ามาเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ความเปลี่ยนแปลงต่อการรับ สารสนเทศจึงเปลี่ยนแปลงไป จากเวลาหลายเดือนในการส่งของสารสนเทศและต้องใช้คน เดินทางไปกับสารสนเทศ กลายเป็นใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงด้วยการส่งโทรเลขหรือโทรศัพท์โดย ไม่ต้องใช้คน และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงพัฒนาระบบโทรคมนาคม
การบันทึกสารสนเทศ
ยุคแรกเริ่มมีการบันทึก สารสนเทศด้วยตัวอักษร ประวัติของห้องสมุดควบคู่ไปกับประวัติของการเขียนหนังสือ พัฒนา การของการบันทึกสารสนเทศย้อนหลังไปกว่า 6,000 ปี มนุษย์ในสังคมสารสนเทศยุคแรกจดหรือบันทึกสารสนเทศบนกระดูก แผ่นดินเหนียว โลหะ ขี้ผึ้ง ไม้ กระดาษปาไปรัส ผ้า ไหม ขนสัตว์ หนังสัตว์ จนกระทั่งสารสนเทศได้พัฒนาในระยะหลังด้วยการบันทึกลงบน กระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก และแผ่นจานแม่เหล็กในปัจจุบัน
1. ห้องสมุดดินเหนียว (Libraries of Clay หรือ House of Clay Tablets) เป็นห้องสมุดยุคแรกที่เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรเมโสโปเตเมียโบราณเรือง อำนาจประมาณ 50-500 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองบาบิโลนและเมืองนิเนเวห์ (Babylon & Nineveh) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก ซีเรีย และตุรกี ประชาชนชาวสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมีย บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรตีส เป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์ตัวอักษร คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือ อักษรลิ่มขึ้น ได้ค้นพบวิธีการบันทึกสารสนเทศให้คงทนอยู่ได้นาน ด้วยการขีดเขียนอักษรโดยใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว (Clay tablets) ซึ่งเปียกอยู่แล้วนำไปทำให้แห้งหรือเผากลายเป็นสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของคนในชาติยุคนั้น รวบรวมจัดเก็บในห้องสมุดแผ่นดินเหนียว ห้องสมุดที่สำคัญได้แก่ ห้องสมุดเทลเลาะห์ (Telloh)
เรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่ ได้แก่ วรรณกรรม นิยาย กาพย์ต่างๆ และเรื่องราวทางศาสนา ชาวบาบิโลเนียน ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่างได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาว สุเมเรียน โดยนำอักษรรูปลิ่มไปบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้แก่ วรรณกรรม และเรื่องราวทางศาสนา รวมถึงได้สร้างห้องสมุดตามวัดและพระราชวัง ชาวบาบิโลเนียนได้คิดค้นประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มบนแท่นหินสีดำ จัดเป็นมรดกทางอารยธรรมที่มีค่ายิ่ง ชาวอัสสิเรียนเก็บรวบรวมแผ่นดินเหนียว บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ที่ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์ (Nineveh) และจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือดินเผาแต่ละแผ่นไว้ด้วย
2. ห้องสมุดปาไปรัส (Libraries of Papyrus) ในช่วงเวลาเดียวกับชาวสุเมเรียน ชาวบาบิโลเนียน และอัสสิเรียนรู้จักจารึกตัวอักษรบนแผ่นดินเหนียว ชาวอียิปต์ได้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรไฮโรกลิฟิค (Hieroglyphic) และบันทึกลงบนกระดาษปาไปรัส (Papyrus) เก็บรวบรวม บันทึก เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่ทำจากกระดาษปาไปรัส ซึ่งชาวอียิปต์ทำขึ้นโดยนำต้นปาไปรัส (คล้ายต้นอ้อ) ซึ่งมีมากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ นำมาลอกเอาเยื่อบาง ๆ ประกบกันหลาย ๆ ชั้น ทำเป็นแผ่นกระดาษขึ้น แผ่นกระดาษเหล่านี้เมื่อนำเอา ด้านข้างมาต่อกัน จะเป็นแผ่นที่ยาวออกในด้านข้าง บางฉบับยาวถึง 40 หลา ใช้หญ้ามาทุบปลายให้เป็นฝอยใช้แทนพู่กัน และต่อมาใช้ปล้องหญ้าตัดทำเป็นปากกา หมึกที่ใช้ทำด้วยถ่านไม้บดละเอียดผสมยางไม้ การใช้กระดาษปาไปรัสได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ชาวอียิปต์บันทึกไว้ในกระดาษปาไปรัส เมื่อจบการบันทึกก็จะม้วนแล้วมัดไว้เป็นม้วนๆ (Papyrus roll) ห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เรื่องราวที่บันทึกส่วนมากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา การปกครอง ตำรายา และ
รูปที่ 12 an ancient Egyptian papyrus roll
ภาพจาก http://spencer.lib.ku.edu/sc/คณิตศาสตร์ หนังสือม้วนที่ยาวที่สุดชื่อว่า Harris papyrus I มีความยาวถึง 133 ฟุตซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ
3. ห้องสมุดแผ่นหนัง (Libraries of Parchment)
การใช้แผ่นหนังเป็นวัสดุสำหรับการเขียน ได้รู้จักกันมานานราว 500 ปี ก่อนคริสตกาล พระเจ้าเปอร์กามัม (Pergamum) แห่งกรีกจึงทรงดำริคิดหาวิธีฟอกหนังให้เหมาะ แก่การเขียนและสามารถเขียนได้สองหน้าซึ่งเรียกว่า กระดาษหนัง (Parchment) โดยการนำแผ่นหนังมาวางซ้อนกันเย็บเป็นเล่มเรียกว่า โคเด็กซ์ (Codex) เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
4. ห้องสมุดยุคปัจจุบัน (Libraries of papers)
คริสตวรรษที่ 15 ชาวเยอรมันชื่อ กูเตนเบอร์ก (Gutenberg) ได้ ค้นพบวิธีการพิมพ์หนังสือ โดยคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ตัวอักษรที่ทำด้วยโลหะขึ้น การค้นพบ วิธีการพิมพ์นี้เองที่ทำให้วิทยาการและการศึกษาค้นคว้า ต่าง ๆ แพร่หลายไปทั่ว ลักษณะของ หนังสือก็เปลี่ยนไป หนังสือมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูก ใช้ได้สะดวก หนังสือแพร่หลาย ทำให้มีการผลิตหนังสือให้กับห้องสมุดประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้
มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เช่น มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด มหาวิทยาลัยปารีส ในเวลาต่อมาจึงเกิดห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้บริการแก่นักศึกษากิจการห้องสมุดได้รับการสนับสนุน มีห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น และเผยแพร่สู่ประชาชนมากขึ้น เกิดห้องสมุดประชาชน เริ่มมีการคิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบต่าง ๆเมื่อเข้าสู่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคสังคมข่าวสาร มนุษย์ทุกสาขาอาชีพใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดมีการจำแนกประเภทออกไปตามวัตถุประสงค์ และตามประเภทของสื่อที่จัดเก็บ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ซึ่งล้วนมีบทบาทต่อการศึกษาค้นคว้าของมนุษย์ปัจจุบันห้องสมุดจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลาย ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเชื่อมโยงสารสนเทศจากยุค จากทุกสาขาวิชา และสถานที่ต่าง ๆทั่วทุกมุมโลกเข้าหากัน สร้างความร่วมมือในการค้นคืนสารสนเทศ หรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาการสมัยใหม่มาจัดดำเนินการ และให้บริการแก่ผู้ใช้ การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการทำงาน และสืบค้นหาสารสนเทศ การนำสื่อสิ่งพิมพ์ไปปรับเปลี่ยนเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) การนำสื่อสิ่งพิมพ์ไปผ่านกระบวนการดิจิทัลในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) หรือการจัดให้บริการสารสนเทศโดยปราศจากสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ล้วนเป็นแนวโน้มการพัฒนาห้องสมุดในอนาคตที่ปราศจากสถานที่ และกฎเกณฑ์ของเวลามีลักษณะเสมือนเป็น “ห้องสมุดไร้พรมแดน” ที่นำศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาช่วยผู้ใช้ในการเข้าถึงแหล่ง สารสนเทศทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
พัฒนาการห้องสมุดในประเทศไทย
ห้องสมุดในประเทศไทย มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หอไตรหรือหอพระไตรปิฎก นับเป็นห้องสมุดประเภทแรกที่จัดตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยโดยจัดสร้างขึ้นในวัด เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา โดยจารหรือบันทึกลงบนใบลานแล้วเก็บรวบรวมไว้ในห่อผ้าที่ใช้ผูกมัด เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เรียกว่า หนังสือผูก สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังคงปรากฏหอไตรอยู่ตามวัดต่าง ๆ และมีการสร้างหอหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมกฎหมาย และเอกสารทางราชการ ต่อมาภายหลังถูกทำลายลงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสังคายนาพระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรด ฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก และหนังสือจำนวนมาก เมื่อ พ.ศ. 2326 ถือเป็นหอสมุดพุทธศาสนาของหลวงหลังแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และจารึกความรู้ในด้านต่าง ๆ ลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัด มีรูปเขียน และรูปสลักประกอบตำรานั้น ๆ และเปิดให้ประชาชนทุกชั้นวรรณะเข้าไปคัดลอกความรู้ได้โดยเสรี ดังนั้น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จึงถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย
ส่วนห้องสมุดสมัยใหม่เริ่มขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกันสร้าง “หอพระสมุดวชิรญาณ” เมื่อปี พ.ศ. 2424 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลที่ 5 ยังทรงโปรด ให้สร้าง “หอพุทธสาสนสังคหะ” เมื่อปี พ.ศ. 2443 เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บหนังสือและพระไตรปิฎก
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง โปรดเกล้า ฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพุทธสาสนสังคหะ และหอสมุดวชิรญาณเข้าด้วยกันแล้วได้พระราชทานนามว่า “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังและในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายออกมาอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุข้างนอกพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนค้นคว้าได้สะดวก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” หลังจากนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หอสมุดแห่งชาติได้ย้ายมาอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
องค์การ และหน่วยงานต่าง ๆ จัดตั้งห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเป็นผลให้เกิดห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ห้องสมุดสยามสมาคม ห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งต่อมาเป็นหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. 2549 เริ่มมีการเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ที่ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิฟุลไบรท์ เมื่อพ.ศ. 2494 หลังจากนั้นวิทยาการบรรณารักษศาสตร์ ได้ขยายการเรียนการสอนไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลให้มีการพัฒนาระบบการบริหารงานสอนห้องสมุดตามแบบสากล เกิดห้องสมุดของสถาบันต่าง ๆ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้นำในการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บ และค้นคืนสารสนเทศ ทำให้ห้องสมุดมีศักยภาพในการให้บริการมากขึ้น สามารถสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้ใช้ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบเครือข่ายในระดับห้องสมุดเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดในปัจจุบัน
ด้วยปริมาณของสารสนเทศที่เพิ่มพูนอย่างมหาศาล และสื่อที่บันทึกสารสนเทศมีหลากหลายประเภทมากขึ้น ห้องสมุดจึงนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานสำคัญ ๆ ของห้องสมุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและเรียกใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ห้องสมุดปัจจุบันจึงมีลักษณะดังนี้
1. ห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Libraries)
2. ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Libraries)
3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Libraries)
4. ห้องสมุดเสมือน (Virtual Libraries)
กล่าวคือ มีการเก็บข้อมูลสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ในระบบฐานข้อมูลที่จัดการโดยระบบคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลได้ รวมทั้งมีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยการเข้าใช้ผ่านเทอร์มินอลในห้องสมุด หรือเข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุดจากสถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้เอกสารที่นำเสนอในห้องสมุด บางส่วนอยู่ในรูปของเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ สามารถสืบค้นได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งหรือรับสารสนเทศ
ได้ด้วยสัญญาณดิจิทัลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาสู่สังคมโลก ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศภายในห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และทั่วโลกเป็นไปได้โดยสะดวก และกว้างขวางยิ่งขึ้นกอร์ปกับมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์ ทำให้มีการสร้างเว็บทั้งของห้องสมุด ของหน่วยงานองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน และแม้แต่ส่วนบุคคล นำเสนอสารสนเทศจนประมาณมิได้ การเข้าถึงสารสนเทศ จึงไร้พรมแดนไม่มีอาณาเขตอีกต่อไป
ดังนั้น การที่จะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากไม่เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ เครื่องมือที่ช่วยในการค้นคว้า และวิธีการศึกษาค้นคว้าที่ถูกต้อง ก็จะไม่ได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ไม่สามารถส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าที่ดีได้
องค์ประกอบการรู้สารสนเทศ
ผู้รู้สารสนเทศ (Information literate person) หมายถึง บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร (People who have learned how to learn)
สมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกา ได้กำหนด องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการ ดังนี้ คือ
ความสามารถในการตระหนักว่า เมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ เข้าใจถึง ความสำคัญ
ของสารสนเทศว่า ใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และช่วยในการทำงานหรือการเรียนได้ดีขึ้น ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ และรู้ว่าจะได้สารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ใด
และจะค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ คือ การคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
ที่ได้มา ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ของตนเองได้ ตลอดจนการเข้าถึง และการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกฎหมาย
สมาคมบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยออสเตรเลียได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับบุคคลทั่วไป (Information Literacy Standards for Person) ไว้ 7 มาตรฐาน เช่น
1. ผู้รู้สารสนเทศรู้ถึงความต้องการสารสนเทศและกำหนดขอบเขตของความต้องการสารสนเทศได้
2. ผู้รู้สารสนเทศสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
3. ผู้รู้สารสนเทศสามารถประเมินคุณค่าสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและบูรณาการสารสนเทศที่เลือกสรรแล้วเข้ากับความรู้เดิม
4. ผู้รู้สารสนเทศสามารถจัดหมวดหมู่ เก็บรวบรวมถ่ายโอนและร่างสารสนเทศที่รวบรวมได้
5. ผู้รู้สารสนเทศควรขยายหรือตีกรอบ หรือวางโครงร่าง หรือสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ โดยบูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เป็นของตนได้
6. ผู้รู้สารสนเทศมีความเข้าใจบริบทวัฒนธรรม เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมเกี่ยวเนื่องกับการใช้ การเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม ชอบด้วยกฎหมาย
7. ผู้รู้สารสนเทศควรตระหนักถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการมีส่วนร่วมของพลเมือง
การเลือกใช้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศ
เมื่อมีความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้น ผู้ใช้สามารถเลือกใช้แหล่งสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ โดยมีหลักในการพิจารณา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. 2547 : 25-26) ดังนี้
1. มีความสะดวกในการเข้าใช้ เช่น อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งสารสนเทศที่เข้าใช้ได้สะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพียงแต่ผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ส่วนห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสะดวกในการเข้าใช้ จัดตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางและเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด 2. มีความน่าเชื่อถือ ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งบุคคลและอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีวิธีการคัดเลือก จัดหา จัดเก็บ ทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และมุ่งเน้นให้บริการสารสนเทศ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ ประหยัดเวลาในการค้นหาสารสนเทศ ขณะที่อินเทอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศในอินเทอร์เน็ต ไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของทำหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหา แหล่งสารสนเทศบุคคล ควรคำนึงถึงผู้ที่มีชื่อเสียง คุณวุฒิ หรือประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 3. มีความสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการความรู้ เฉพาะสาขาวิชาควรเลือกใช้ ห้องสมุดคณะ ห้องสมุดเฉพาะ หรือศูนย์สารสนเทศ หรือถ้าต้องการความรู้หลากหลายสาขาวิชา ควรเลือกใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาอ่านได้ จากทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ อาจต้องใช้แหล่งบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น 4. ความทันสมัยของเนื้อหาที่นำเสนอ สื่อมวลชน เป็นแหล่งที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น ข้อมูลข่าวสาร ที่เผยแพร่จึงล้าสมัยเร็ว เช่น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ตลาดหุ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณา วัน เดือน ปี ของการผลิต หรือเผยแพร่ข้อมูลของแหล่งสื่อมวลชนด้วย
ความต้องการสารสนเทศ
บุคคลเมื่ออยู่ในสถานการณ์ ที่ต้องใช้การตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ของปัญหา หรือข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหา หรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเอง ยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นๆ เพียงพอ ซึ่ง อาจมีทั้ง ความต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที และความต้องการเก็บรวบรวมสารสนเทศ ไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้ สามารถกำหนดถึงความต้องการ ที่แท้จริงได้ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์. 2547 : 6-9) คือ
1. วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ โดยกำหนดเป็นหัวข้อ (Topic) ความต้องการสารสนเทศ ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น เพื่อการทำงาน เพื่อการเรียน เพื่อการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น 2. การพิจารณาลักษณะของสารสนเทศ กำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ เมื่อกำหนดหัวข้อ และประเด็นแนวคิดของสารสนเทศ ที่ต้องการได้แล้ว ต่อไป คือ การกำหนดคุณลักษณะของข้อมูลที่ต้องการในแต่ละแนวคิด คุณลักษณะของสารสนเทศมี 7 ประเด็น คือ 2.1 เนื้อหาของสารสนเทศ (content) หมายถึง เนื้อเรื่องของสารสนเทศ อาจเป็นความรู้กว้างๆ หรือ เฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง 2.2 ชนิดของสารสนเทศ (nature) สารสนเทศที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกัน อาจมีชนิดแตกต่างกัน เช่น ทฤษฎี สูตรคณิตศาสตร์ คำอธิบาย ตาราง แผนภูมิ หรือหลายประเภทรวมกัน เป็นต้น 2.3 ปริมาณของสารสนเทศ ( quantity) ที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต้องการและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน 2.4 รูปแบบของสารสนเทศ (packaging) คือลักษณะภายนอกของสารสนเทศ เช่น หนังสือ ฐานข้อมูล บทความวารสาร บทคัดย่อ รายงานการประชุม รายงานการวิจัย เป็นต้น 2.5 ความทันสมัยหรือช่วงระยะเวลาของสารสนเทศ (data range) หรืออายุของสารสนเทศที่ต้องการ อยู่ในช่วงเวลาใด สารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน หรือ สารสนเทศเชิงประวิติศาสตร์ ช่วงเวลาของสารสนเทศมีหลายระดับ ได้แก่ ใหม่มาก หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา ทันสมัย หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา เก่าย้อนหลัง หมายถึง สารสนเทศที่มีอายุเกิน 1 ปี 2.6 คุณภาพของสารสนเทศ (quality) คุณภาพของสารสนเทศเป็นความรู้สึกของผู้ใช้ว่า ถูกต้อง น่าเชื่อถือ โดยสามารถพิจารณาจากความเชี่ยวชาญของผู้เขียน ความมีชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำสารสนเทศต่างๆ 2.7 ภาษาของสารสนเทศ (language) ปกติผู้ใช้ต้องการใช้สารสนเทศในภาษาของตน ที่สามารถเข้าใจง่าย เหมาะกับการใช้งาน การใช้สารสนเทศภาษาอื่น ถ้าขาดทักษะในภาษานั้นๆ จะทำให้ไม่สามารถรับสารสนเทศได้อย่างสมบูรณ์ 3. การวางแผนค้นหาสารสนเทศ เมื่อผู้ใช้ตระหนัก และเห็นความต้องการสารสนเทศของตนแล้ว จะสามารถกำหนดความต้องการ และค้นหาสารสนเทศได้ โดยกำหนดขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศ ดังนี้ 3.1 กำหนดหัวข้อตามความต้องการและแยกออกเป็นประเด็นแนวคิดหรือคำถามย่อยๆ 3.2 ระดมความคิดว่าประเด็นแนวคิดที่ต้องการสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือมีสิ่งแวดล้อมใดที่มีความสัมพันธ์กัน โดยนำแนวคิด ความรู้ความเข้าใจที่สรุปได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ นำมาเชื่อมโยงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลักและแนวคิดย่อยๆ 3.3 กำหนดประเด็นแนวคิด คำสำคัญ หัวเรื่อง กำหนดทรัพยากรสารสนเทศหรือแหล่งสารสนเทศใดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ครอบคลุมและเฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการ 3.4 กำหนดเงื่อนไขการประเมินเพื่อเลือกทรัพยากรและแหล่งสารสนเทศให้เหมาะสม เช่น ระยะเวลาของเรื่อง ประเภทและรูปแบบการนำเสนอ เป็นต้น
คุณค่าของสารสนเทศ
สารสนเทศที่หามาได้นั้นจะมีคุณค่าต่อการใช้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ คือ
1. เวลา (time) สารสนเทศที่ได้รับ ต้องทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ทันต่อความต้องการในการใช้
2. ความถูกต้อง (accuracy) สารสนเทศ ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่มีการแต่งเติม จนมีผลต่อความรู้สึก ความเข้าใจของผู้ใช้ ความชัดเจน ปราศจากความคลุมเครือ ไม่ต้องอาศัยการตีความเพิ่มเติม และสามารถพิสูจน์ได้
3. ความครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ครบถ้วน จะต้องไม่ขาดหาย และไม่ถูกบิดเบือนจากความจริง มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการในการใช้
4. ความต่อเนื่อง (continuation) มีลักษณะการสะสมของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประสานเป็นเนื้อหาเดียวกัน
นอกจากนี้ ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ์ และคณะ. (2537 : 6) ได้กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญในการวัดค่าสารสนเทศไว้ดังนี้
1. สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility) หมายถึง ความสะดวกในการเข้าถึง
2. ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึงความสมบูรณ์ในเนื้อหาของสารสนเทศ โดยพิจารณาทางด้านคุณภาพของสารสนเทศมากกว่าด้านปริมาณ
3. ความถูกต้องเที่ยงตรง (Accurancy) หมายถึง สารสนเทศที่ได้รับต้องไม่มีข้อผิดพลาด เช่น ข้อผิดพลาดด้านการคัดลอก การบันทึกข้อมูล การคำนวณ เป็นต้น
4. ความเหมาะสม (Appropriateness) หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้รับตรงตามความต้องการของผู้ใช้
5. ความทันเวลา (Timeline) หมายถึง สารสนเทศนั้นต้องใช้ระยะเวลาอันสั้นและมีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อให้ผู้ใช้สารสนเทศได้รับทันเวลา
6. ความชัดเจน (Clarity) หมายถึง สารสนเทศที่ได้รับ ต้องมีความชัดเจน ไม่กำกวม
7. ความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง สารสนเทศที่ดีนั้นจะต้องให้ประโยชน์แก่บุคคลจำนวนมากอย่างกว้างขวาง
8. ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) หมายถึง สารสนเทศนั้น ต้องสมารถพิสูจน์หรือตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริง
9. ความซ้ำซ้อน (Redundancy) หมายความว่า สารสนเทศนั้นมีความซ้ำซ้อนหรือมีมากเกินความจำเป็นหรือไม่
สรุปสาระสำคัญ
การเข้าถึงสารสนเทศ และสามารถใช้สารสนเทศประกอบการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย จึงจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่จัดเป็นทรัพยากรบุคคลตามความคาดหวังของประเทศ การศึกษาวิชา ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ 3000-1601 จึงทำให้เกิดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้
- ความสำคัญของสารสนเทศ
- ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ
- สิ่งที่ใช้บันทึกสารสนเทศ
- แหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด หน่วยงานบริการสารสนเทศ ฐานข้อมูล เว็บไซต์ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องมือช่วยการเข้าถึงสารสนเทศทั้งในระบบดั้งเดิม และระบบอัตโนมัติ
- การให้บริการของห้องสมุด และหน่วยงานบริการสารสนเทศ
- การใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการทำรายงาน เช่น รายงานประจำวิชา ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และงานวิจัย ทั้งนี้การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของบุคคล ผู้ที่ตั้งใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์ และร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้เท่านั้นที่จะประสพความสำเร็จในชีวิต
แบบประเมินผลการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 2
ตอนที่ 1 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. คำว่า "สารสนเทศ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ ว่าอะไร
ก. Informatic ข. Information ค. Information age ง. Information Society
2. สารสนเทศ มีความหมายว่าอย่างไร
ก. ความรู้ที่ได้รับทราบจากการบอกเล่าของผู้อื่นต่อๆ กันมา
ข. ทรัพยากรสารสนเทศ สถานที่ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค. ข่าวสารใหม่ๆ ที่เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปขณะนั้น
ง. ความรู้ เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการบันทึกเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์
3. สารสนเทศ กลายสภาพมาจากอะไร
ก. การประมวลผล ข. ข้อมูล ค. สารนิเทศ ง. การจัดหาข้อมูล
4. ข้อใดคือลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ก. ต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่เสมอ
ข. ต้องได้รับอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ครบถ้วน
ค. ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันต่อความต้องการ
ง.ต้องได้รับอย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ถึงจะเลยเวลาที่จำเป็นต้องใช้ก็ตาม
5. ยูเนสโก กำหนดว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก คือข้อใด
ก. ทุน มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ข. ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการมนุษย์
ค. ทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์ สารสนเทศ ง. สารสนเทศ การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ
6. จำนวนคนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสารสนเทศ มีมากกว่าจำนวนผู้ใช้แรงงาน แสดงว่า
ก. ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ข. คนถูกปลดออกจากงานมาก
ค. เป็นสังคมเกษตรกรรม ง. เป็นสังคมสารสนเทศ
7. วันนี้...นักศึกษาต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง กรณีการดำเนินคดียุบพรรคการเมือง แหล่งสารสนเทศ สื่อที่นักศึกษาควรนึกถึงเป็นอันดับแรกที่ทันเหตุการณ์ที่สุด คือ
ก. หนังสือ ข. หนังสือพิมพ์ ค. อินเทอร์เน็ต ง. บทความวารสาร
8. สารสนเทศสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านใดบ้าง
ก. การทำงาน ข. การเรียน ค. การดำเนินชีวิตประจำวัน ง. ถูกทุกข้อ
9. สถานการณ์ใดที่นักศึกษาไม่ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
ก. นักศึกษาเลือกฝากเงินกับธนาคาร ที่ให้ดอกเบี้ยสูง
ข. เข้าห้องสมุด เพื่อค้นคว้า ข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน
ค. นักศึกษาอ่านหนังสือนอกเหนือจากที่อาจารย์สอนในห้องเรียนทำให้ได้เกรด A
ง. นักศึกษาปวดศีรษะ จึงกินยาแอสไพริน โดยไม่ทราบว่าอาจมีผลทำให้เป็นโรคกระเพาะ
10. ข้อใดไม่ใช่การเรียนในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน
ก. การเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ข. การเรียนผ่านระบบเครือข่าย
ค. การเรียนที่ไม่ต้องพึ่งพาอาจารย์ผู้สอน
ง. การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
11. ผู้รู้สารสนเทศ หมายถึงอะไร
ก. บุคคลที่ทราบคำตอบของปัญหา
ข. บุคคลที่รู้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร
ค. บุคคลที่กำลังเรียนในสาขาของที่ตนเองชอบ
ง. บุคคลที่รู้ความหมายของสารสนเทศ
12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. ผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ
ข. ผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ค. ผู้ที่สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ง. ผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการเล่นเกม
13. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ข. ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ค. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ง. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
14. ข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
ก. ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม
ข. ตระหนักถึงประโยชน์ของสารสนเทศ
ค. สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ตระหนักว่าสารสนเทศที่สืบค้นได้มีความครบถ้วนสมบูรณ์
15. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง 1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ 2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ 3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ 5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ก. 1-2-3-4-5 ข. 2-4-5-3-1 ค. 5-4-1-2-3 ง. 4-3-5-1-2
16. ข้อใดคือประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ
ก. เป็นที่เก็บหนังสือที่มีคุณค่า
ข. เป็นที่รวมของบุคลากรที่มีความชำนาญ
ค. ช่วยให้นักศึกษามีแหล่งพักผ่อนยามว่าง
ง. สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพ
17. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของยุคสารสนเทศ
ก. ประชาชน องค์กร ใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
ข. สารสนเทศเข้าถึงได้ยากโดยเฉพาะสารสนเทศที่ไม่มีในประเทศ
ค. ประชาชนนิยมการให้บริการออนไลน์
ง. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการสารสนเทศ
18. องค์ความรู้หมายถึงอะไร
ก. ผลผลิตที่ตลาดต้องการ
ข. ข้อมูลสถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ค. สารสนเทศที่ได้รับการนำเสนออย่างเป็นระบบ
ง. ทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
19. จากคำกล่าวที่ว่า สารสนเทศคืออำนาจ (Information is Power) มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. กลุ่มประเทศที่มีการวางแผนโครงข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันหลายประเทศทั่วโลก
อย่างครอบคลุม
ข. ผู้ที่เข้าถึงสารสนเทศก่อนผู้อื่นย่อมมีโอกาสเป็นผู้นำในการดำเนินการและแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ค. ผู้ที่มีเทคโนโลยีอยู่ในครอบครองย่อมเป็นผู้นำด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ
ง. คือ เทคโนโลยีทางด่วนข้อมูล
20. ข้อใดคือแหล่งสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทย
ก. หอไตร ข. หอสมุดวชิรญาณ
ค. หอสมุดแห่งชาติ ง. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ตอนที่ 2
1. จงอธิบายความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับยุคสารสนเทศ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
2. จงอธิบายถึงความสำคัญของสารสนเทศต่อบทบาทของนักศึกษา
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
3. เหตุใดการบันทึกสารสนเทศจึงมีความสำคัญ..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. จงลำดับพัฒนาการของห้องสมุดในโลก และในประเทศไทย
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
5. เมื่อท่านได้ศึกษาความหมายของสารสนเทศจากเอกสารแล้ว จงสรุปความหมายของสารสนเทศมาตามความเข้าใจ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
6. จงอธิบายความสำคัญของสารสนเทศต่อการดำรงชีวิตมาอย่างอย่างสั้น ๆ พอเข้าใจ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
7. ท่านเป็นนักศึกษาด้านอาชีวศึกษาซึ่งต้องออกไปประกอบอาชีพในสังคมในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านคิดว่าสารสนเทศมีบทบาทต่อการประกอบอาชีพของท่านอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกากับมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลีย
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
9. จงอธิบายกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศตามความต้องการของตน ว่ามีหลักการและวิธีการอย่างไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
10. ให้สืบค้นข้อมูลมูลจากคำต่อไปนี้พร้อมให้รายละเอียดสั้น ๆ พอเข้าใจ
อักษรลิ่ม ห้องสมุดปาไปรัส ห้องสมุดแผ่นหนัง หอไตร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)